Page 62 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 62

บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย



            ๒. มาตรฐานอื่น ๆ ตลอดจนการยอมรับ หรือให้ค�าปฏิญาณต่อกลไกต่าง ๆ



                  นอกจากสนธิสัญญาหลักและพิธีสารข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังให้สัตยาบันกับอนุสัญญาที่จัดท�าขึ้นโดยองค์การ
            แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO)  จ�านวน ๑๔ ฉบับ ได้แก่
                                                                       ๑๒


             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๔     การหยุดพักผ่อนประจ�าสัปดาห์ในงานอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๔๖๔ (๑๙๒๑)
             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๙     การปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนส�าหรับคนงานชาติในบังคับและคนต่างชาติ   บทที่

                                         พ.ศ. ๒๔๖๘ (๑๙๒๕)                                                          ๑
             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๒๙     การเกณฑ์แรงงาน หรือแรงงานบังคับ พ.ศ. ๒๔๗๓ (๑๙๓๐)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๐     การแก้ไขบางส่วนของอนุสัญญา พ.ศ. ๒๔๘๙ (๑๙๔๖)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๘     การจัดตั้งบริหารจัดหางาน พ.ศ. ๒๔๙๑ (๑๙๔๘)
             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๐๐    ค่าตอบแทนที่เท่ากัน พ.ศ. ๒๔๙๔ (๑๙๕๑)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๐๔    การเลิกบังคับทางอาญาแก่กรรมกรพื้นเมืองที่ละเมิดสัญญาจ้าง พ.ศ. ๒๔๙๘ (๑๙๕๕)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๐๕    การยกเลิกแรงงานบังคับ พ.ศ. ๒๕๐๐ (๑๙๕๗)
             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๑๖    การแก้ไขบางส่วนของอนุสัญญา พ.ศ. ๒๕๐๔ (๑๙๖๑)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๒๒    นโยบายการท�างาน พ.ศ. ๒๕๐๗ (๑๙๖๔)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๒๓    อายุขั้นต�่าที่อนุญาตให้ท�างานในเหมืองใต้ดิน พ.ศ. ๒๕๐๘ (๑๙๖๕)
             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๒๗    น�้าหนักสูงสุดที่อนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ พ.ศ. ๒๕๑๐ (๑๙๖๗)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๓๘    อายุขั้นต�่าที่อนุญาตให้จ้างงานได้ พ.ศ. ๒๕๑๖ (๑๙๗๓)

             อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๒    การห้ามและการด�าเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก
                                         พ.ศ. ๒๕๔๒ (๑๙๙๙)


                  ในส่วนของปฏิญญา ข้อมติ มาตรฐาน แนวทาง ข้อก�าหนดระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
            สิทธิมนุษยชน ตลอดจนค�ามั่นโดยสมัครใจ (pledge) และ/หรือค�ารับรอง (accept) ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคม
            ระหว่างประเทศ หรือแม้แต่การด�าเนินการของกลไกซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ (Charter-based) โดยมี
            บทบาทหน้าที่ตามมติของที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) และ/หรือมติ

            ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly) อาทิ คณะท�างาน (Working Group) ผู้รายงานพิเศษ (Special
            Rapporteur) หรือผู้แทนพิเศษ (Special Representative) แม้ว่าจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ
            แต่ก็เป็นกระบวนการทางสังคมและการเมืองระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
            ภายในประเทศ

                  โดยปัจจุบัน กระบวนการหนึ่งที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิก (รัฐภาคี) ๑ ใน ๑๙๓ ประเทศขององค์การสหประชาชาติ
            (United Nations)  ได้ให้ความส�าคัญ คือ การเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้
                            ๑๓
            กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งในกระบวนการทบทวน รอบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
            รัฐบาลไทยได้ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจ จ�านวน ๗ ข้อ ในขณะที่ได้รับข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ทั้งสิ้น ๒๔๙ ข้อ

            ๑๒  มีสถานะเป็นทบวงช�านัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ (specialized agency) โดยมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการปรับปรุงสภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ผ่านการก�าหนด ติดตาม และก�ากับมาตรฐาน
               ในด้านการจ้างงาน ค่าจ้าง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน การประกันสังคม และอื่น ๆ.
            ๑๓  องค์การสหประชาชาติ (United Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่ออ�านวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
               การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ๒๔๘๘ (๑๙๔๕) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อ
               ยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีส�าหรับการเจรจา

                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 61
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67