Page 64 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 64
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
หรือการให้ความหมายในเชิงคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ วิถีทางเพศ สถานะทางสังคมของความเป็นชาย-หญิง
คุณวุฒิทางความรู้ อาชีพ หน้าที่การงาน และอื่น ๆ
๓. ความผูกพันทางกฎหมาย และหน้าที่ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน จ�าแนกเป็น
๓.๑ รัฐ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ (duty-bearer) ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภายในเขตอ�านาจรัฐ
(jurisdiction) รวมถึงการดูแลบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติของรัฐนั้น ๆ และการด�าเนินการที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
นอกเขตอ�านาจรัฐ โดยรัฐมีหน้าที่ใน ๓ ด้าน คือ บทที่
๑
หน้าที่ในการเคารพ รัฐต้องไม่แทรกแซงการใช้สิทธิของประชาชน และไม่กระท�าการ หรือละเว้นการกระท�าใด ๆ
(Obligation to Respect) ที่ท�าให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ในการคุ้มครอง รัฐต้องคุ้มครองมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลถูกละเมิดสิทธิจากบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นใด เช่น
(Obligation to Protect) ภาคเอกชน โดยต้องจัดท�า ก�าหนด และดูแลการบังคับใช้มาตรการดูแลมิให้เกิด
การละเมิดสิทธิ ในกรณีที่เกิดการละเมิด รัฐต้องดูแลและให้การคุ้มครอง
หน้าที่ในการท�าให้ จัดท�า และ รัฐต้องด�าเนินมาตรการเชิงรุก (positive steps) เพื่อรับรองหรือประกันสิทธิ
อ�านวยการให้สิทธิเกิดขึ้นจริงใน ของประชาชน เช่น การก�าหนดกรอบกฎหมาย นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ที่ท�าให้
ทางปฏิบัติ ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิต่าง ๆ การประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้สิทธิและ
(Obligation to Fulfill) เสรีภาพตามที่มีอยู่ทางธรรมชาติ และ/หรือตามที่ได้รับการรับรองในกฎหมายภายใน
และตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน
๓.๒ ภาคธุรกิจและรัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือโครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ) เนื่องจาก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเป็นโครงสร้างหลักใน
การพัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ท�าให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ จึงมีการก�าหนดหลักการชี้แนะ
แห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจภายใต้กรอบ “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา” (United Nations Guiding
Principles on Business and Human Rights: Implementing the United Nations “Protect, Respect and
Remedy” Framework : UNGPs) ซึ่งน�าหลักส�าคัญที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน มาเน้นย�้าให้เกิด
รูปธรรมให้ภาคธุรกิจและรัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือโครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ) ต้องให้ความ
ส�าคัญในการประกอบการที่ต้องค�านึงถึงสิทธิมนุษยชนของชุมชน หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง โดยป้องกันความเสี่ยง และแก้ไข
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจจะเกิดจากการประกอบธุรกิจ โดยมีหลักการส�าคัญตามกรอบขององค์การ
สหประชาชาติ ซึ่งรัฐ และภาคธุรกิจมีหน้าที่ใน ๓ ด้าน คือ
๑๕
หน้าที่ในการคุ้มครอง (Protect) รัฐต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคน
หน้าที่ในการเคารพ (Respect) การประกอบการธุรกิจ (ของภาคธุรกิจและรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือ
โครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ) ต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคน
ที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ในการเยียวยา (Remedy) การประกอบการธุรกิจ (ของภาคธุรกิจและรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือ
โครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ) ซึ่งส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนใด ๆ จะต้องมี
การเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบโดยทันที รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทั้งโดยกระบวนการ
ทางศาล และกระบวนการทางเลือกที่เป็นกลไกนอกศาล
๑๕ เอกชัย ปิ่นแก้ว. และรักษณาลี ดอนสนธิ์. (๒๕๖๐). รายงานสรุปการสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ “ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เรื่อง “การเผยแพร่และการ
ขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย”. กรุงเทพฯ : ส�านักวิจัยและวิชาการ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 63