Page 54 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 54

บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย




                     ส่วนที่สอง (ข้อบทที่ ๑๗ - ๓๐) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้ง และการด�าเนินงานของคณะกรรมการ การเสนอ
                รายงาน ผลกระทบของอนุสัญญา และการก�าหนดมาตรการที่จ�าเป็น การลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้
                การแก้ไข การตั้งข้อสงวน และการระงับข้อพิพาท





                  ต่อมา ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CEDAW (Optional Protocol to the
            CEDAW : OP-CEDAW) โดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่   บทที่
            ๑๔ กันยายน ๒๕๔๓                                                                                        ๑



                     โดยแสดงการยอมรับของประเทศไทย ต่อการท�าหน้าที่ของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ในการรับ
                และพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล
                กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้

                     ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้ด�าเนินการโดยกระบวนการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                ในประเทศจนหมดสิ้นแล้ว หรือมีเหตุผลว่ากลไกในประเทศ ด�าเนินการล่าช้ากว่าปกติ หรือมิได้ให้ความเป็นธรรม
                ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (exhaustion of domestic remedies) นอกจากนั้น ยังต้องแจ้งให้รัฐบาล
                ของประเทศนั้น ๆ ได้ทราบและรับรู้ก่อนด้วย





                  ๑.๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็ก (International Convention on the Rights of the Child
            : CRC) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕



                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ โดยปัจจุบันยังคงตั้งข้อสงวน
                ในข้อบทที่ ๒๒ เรื่องการดูแลกลุ่มเด็กซึ่งเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบหรือผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสถานะ
                ของเด็กผู้ลี้ภัยที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และแนวปฏิบัติในประเทศ



                     เนื้อหามีทั้งหมด ๕๔ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
                     ส่วนที่หนึ่ง (ข้อบทที่ ๑ - ๔๑) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก ประกอบด้วย ความหมายของเด็ก
                การที่รัฐภาคีต้องประกันสิทธิพื้นฐานของเด็กที่อยู่ในเขตอ�านาจของรัฐภาคีใน ๔ ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิต

                สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม โดยจะต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และต้อง
                ค�านึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นส�าคัญ ในขณะที่ต้องเคารพต่อความรับผิดชอบและสิทธิหน้าที่ของบิดา มารดา
                ครอบครัว ตลอดจนสภาพสังคมของเด็ก การประกันสิทธิที่จะมีชีวิต การมีชื่อ การมีสัญชาติ การมีเอกลักษณ์
                การอยู่ร่วมกันระหว่างเด็กกับบิดา มารดา ครอบครัว การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สิทธิเสรีภาพของเด็กในการ

                แสดงความคิดเห็น การแสดงออก การแสวงหา/ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความคิด มโนธรรม ศาสนา การสมาคม
                ความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อ และการคุ้มครองจากข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย การช่วยเหลือ
                บิดา มารดา ผู้ปกครองให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ การคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งปวง การดูแลและจัดหา
                ทางเลือกส�าหรับเด็ก การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย การดูแลเด็กพิการ การดูแลสุขภาพ

                และการสาธารณสุขส�าหรับเด็กและมารดา การประกันสังคม การได้รับมาตรฐาน การด�ารงชีวิตที่เพียงพอ การศึกษา







                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 53
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59