Page 56 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 56
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CRC เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยก�าลังอาวุธ (Optional
Protocol to the CRC on the Involvement of Children in Armed Conflict : OP-AC) โดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙
ประเทศไทยท�าค�าแถลงตีความข้อบทที่ ๓ วรรคสอง โดยระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่การทหารเป็นหน้าที่
อันพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ชายไทยเมื่ออายุย่าง ๑๘ ปี มีหน้าที่ต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ซึ่งอาจ
ถูกเรียกให้ปฏิบัติราชการทหารในกองได้ยามประเทศมีสงคราม หรือประสบภาวะวิกฤต การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ บทที่
โรงเรียนทหารเหล่าต่าง ๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ การผ่านการสอบคัดเลือก และต้องได้รับความ ๑
ยินยอมจากผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งชายและหญิง สามารถเข้ารับการฝึกวิชาทหารได้โดยต้อง
ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และการจัดตั้งกองก�าลังอื่นใดที่มิได้จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ เป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โดยไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องอายุของผู้เข้าร่วมแต่อย่างใด
เนื้อหามีทั้งหมด ๑๓ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง (ข้อบทที่ ๑ - ๔) กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการประกันว่า บุคคลที่อายุไม่ถึง ๑๘ ปี จะไม่ถูกเกณฑ์
เข้าร่วมในการสู้รบในกองทัพของรัฐ หรือกลุ่มกองก�าลังติดอาวุธ
ส่วนที่สอง (ข้อบทที่ ๕ - ๗) กล่าวถึง การบังคับใช้กฎหมายภายในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการด�าเนินการตามข้อบทของพิธีสาร และการใช้ความร่วมมือในการช่วยเหลือระดับพหุภาคีในการฟื้นฟู
ด้านวิชาการและด้านการเงิน
ส่วนที่สาม (ข้อบทที่ ๘ - ๑๓) กล่าวถึง การจัดท�ารายงานผลการด�าเนินการตามพิธีสารเลือกรับ
พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CRC เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน (Optional Protocol to the CRC on
a Communications Procedure : OP3) โดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ และมีผลใช้บังคับกับ
ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐ พร้อมท�าค�าแถลงตีความใน
๒ ประเด็น ได้แก่ (๑) การก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง โดยมิได้หมายรวมถึงการแบ่งแยกดินแดนหรือเอกภาพ
ทางการเมือง (ข้อบทที่ ๑ วรรคหนึ่ง) และ (๒) การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อท�าสงคราม (ข้อบทที่ ๒๐ วรรคหนึ่ง)
เนื้อหามีทั้งหมด ๕๓ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง - ส่วนที่สาม (ข้อบทที่ ๑ - ๒๗) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ จ�านวน ๒๗ ข้อ ก�าหนดสิทธิต่าง ๆ
ทั้งในส่วนที่เป็นสิทธิของประชาชน ซึ่งว่าด้วยการก�าหนดสิทธิของตนเองในเรื่องการเมือง และสามารถด�าเนินการ
อย่างเสรีในการจัดการทรัพยากร และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง และการประกันสิทธิ
ของรัฐภาคี ที่จะต้องส่งเสริมให้บังเกิดผลตามสิทธิดังกล่าว โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ สิทธิเหล่านี้ รวมถึงสิทธิ
ที่จะมีชีวิตและการยกเลิกโทษประหารชีวิต การห้ามการทรมาน/ลงโทษทารุณโหดร้าย การมีทาส เสรีภาพในความ
ปลอดภัยของร่างกาย การห้ามการจับกุมหรือควบคุมตัวโดยพลการ หรือตามอ�าเภอใจโดยมิได้กระท�าผิดกฎหมาย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 55