Page 60 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 60
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
๑.๖ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (International Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman
or Degrading Treatment or Punishment : CAT) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ พร้อมท�าค�าแถลงตีความ ข้อบทที่
๑ เรื่องค�านิยามของค�าว่า “การทรมาน” ข้อบทที่ ๔ เรื่องการก�าหนดให้การทรมานทั้งปวงเป็นความผิดที่ลงโทษ
ได้ตามกฎหมายอาญา และข้อบทที่ ๕ เรื่องให้รัฐภาคีด�าเนินมาตรการต่าง ๆ ที่อาจจ�าเป็นเพื่อให้ตนมีเขตอ�านาจ บทที่
เหนือความผิดที่อ้างถึงตามข้อบทที่ ๔ ของอนุสัญญา ซึ่งทั้งสามข้อเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับ ๑
อยู่ ณ ปัจจุบัน นอกจากนั้น ได้ตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ ๓๐ วรรคหนึ่ง โดยไม่รับผูกพันตามข้อบทในการน�าข้อพิพาท
เกี่ยวกับการตีความ หรือการน�าอนุสัญญาฯ ไปใช้ ในการขึ้นสู่การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้
หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ เว้นเสียแต่ว่าจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไป
เนื้อหามีทั้งหมด ๓๓ ข้อ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนแรก (ข้อบทที่ ๑ - ๑๖) กล่าวถึง ค�านิยามของการทรมาน บทบัญญัติว่าด้วยการก�าหนดให้การทรมาน
เป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา เขตอ�านาจที่เป็นสากลเกี่ยวกับความผิดการทรมาน และหลักการ
ส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ส่วนที่สอง (ข้อบทที่ ๑๗ - ๒๔) กล่าวถึง การน�าบทบัญญัติไปใช้โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ CAT เป็น
องค์กรก�ากับดูแล ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญอิสระ จ�านวน ๑๐ คน ที่แต่งตั้งโดยภาคีสมาชิก และปฏิบัติหน้าที่
ในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสามารถ ค�าร้องเรียนระหว่างรัฐ ค�าร้องเรียนของปัจเจกบุคคล และอ�านาจของ
คณะกรรมการฯ
ส่วนที่สาม (ข้อบทที่ ๒๕ - ๓๓) กล่าวถึง กระบวนการเข้าเป็นภาคี ผลใช้บังคับ การแก้ไขอนุสัญญา
โดยเฉพาะข้อสงวน การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของอนุสัญญา และการระงับข้อพิพาท
๑.๗ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (International Convention on the Rights of
Persons with Disabilities: CRPD) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เนื้อหามีทั้งหมด ๕๐ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
โดยส่วนแรก (ข้อบทที่ ๑ - ๓๓) เกี่ยวกับเรื่องวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปของอนุสัญญาฯ โดยมีเนื้อหา
เกี่ยวกับความเสมอภาค กลุ่มสตรี และเด็กพิการ การเสริมสร้างความตระหนัก การเข้าถึงบริการต่าง ๆ สิทธิ
ในร่างกาย สถานการณ์ฉุกเฉินทางมนุษยธรรม ความเสมอภาคทางกฎหมาย การเข้าถึงบริการยุติธรรม เสรีภาพ
และความมั่นคงของมนุษย์ เสรีภาพจากการถูกทรมาน การกระท�าและลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ
ย�่ายีศักดิ์ศรี เสรีภาพจากการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ การกระท�ารุนแรงและการกระท�าที่มิชอบ ความเคารพ
ต่อคนพิการ เสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐาน การได้มาซึ่งสัญชาติ การอยู่ร่วมกันในสังคม เสรีภาพในการแสดงความ
คิดเห็น การเข้าถึงข้อมูล การเคารพครอบครัว การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในสุขภาพ การฟื้นฟูเยียวยา การท�างาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 59