Page 58 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 58
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
ส่วนที่ห้า (ข้อบทที่ ๔๖-๔๗) ว่าด้วยการตีความ
ส่วนที่หก (ข้อบทที่ ๔๘-๕๓) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับ การแก้ไข การเก็บรักษา
ต้นฉบับทั้ง ๕ ภาษา
๑.๔ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on บทที่
Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ๑
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ โดยท�าค�าแถลงตีความข้อ ๑
วรรคหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง ซึ่งมิให้ตีความรวมถึงการแบ่งแยกดินแดน หรือเอกภาพ
ทางการเมือง
เนื้อหามีทั้งหมด ๓๑ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง-ส่วนที่สาม (ข้อบทที่ ๑ - ๑๕) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของประชาชน ได้แก่
การก�าหนดเจตจ�านงของตน การจัดการทรัพยากร และการประกันสิทธิของรัฐภาคีที่จะต้องให้สิทธิแก่ทั้งประชาชนและ
ผู้ที่ไม่ใช่คนชาติของตน การประกันสิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างชาย หญิง
และเพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย การห้ามลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การรับรองสิทธิ
ในการท�างานหาเลี้ยงชีพด้วยสภาพการท�างานที่ยุติธรรม ค่าจ้างที่เป็นตามความเป็นอยู่ และสภาพการท�างาน
ที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ การก่อตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิของคนงาน สิทธิในสวัสดิการสังคม การประกันสังคม
สิทธิของครอบครัวในฐานะสังคมพื้นฐานทางธรรมชาติ สิทธิของมารดา เด็ก ผู้เยาว์ และความคุ้มครอง
สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ อาหาร โดยปราศจากความหิวโหย และ
การแบ่งสรรอาหาร สิทธิด้านสุขภาพ สุขลักษณะ บริการทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาดโดยเฉพาะอนามัยทารก
สิทธิทางการศึกษาโดยการศึกษาภาคบังคับเป็นแบบให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ
อุดมศึกษาที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึงจะต้องส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มากที่สุด สิทธิการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐที่จะคุ้มครองอนุรักษ์และการพัฒนา
รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางวัฒนธรรม
ส่วนที่สี่ (ข้อบทที่ ๑๖ - ๒๕) ว่าด้วยการเสนอรายงานทั้งของรัฐภาคี และในระหว่างองค์กร
ของสหประชาชาติของการให้ความช่วยเหลือ และการประชุมทางวิชาการและการตีความ
ส่วนที่ห้า (ข้อบทที่ ๒๖ - ๓๑) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นรัฐภาคี การมีผลบังคับใช้ ความครอบคลุม
ของกติกา การแก้ไขและการเก็บรักษาต้นฉบับ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 57