Page 53 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 53

ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และหลักกฎหมายแบบอิงเกณฑ์ค�าพิพากษา (common law) ซึ่งใช้แนวทาง
           ค�าพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย นั่นหมายถึง ระบบกฎหมายของประเทศไทยพิจารณาทั้งกฎหมาย
           ที่บัญญัติหรือประมวลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และน�าแนวค�าพิพากษาของศาลมาพิจารณาประกอบในบางส่วน


           ข. กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนกับประเทศไทย



           ๑. สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน และพิธีสารเลือกรับ (Optional Protocol : OP)
           ของสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี               ๑๐



                สิทธิที่ได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รัฐจึงมีหน้าที่ (obligations)
           ที่จะต้องด�าเนินการให้สอดคล้อง และ/หรือ เป็นไปตามมาตรฐานที่รับเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี
           สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน ๗ ฉบับ (จากทั้งหมด ๙ ฉบับ) และเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ (OP) ๕ ฉบับ ของสนธิสัญญา

           หลักข้างต้นในบางฉบับ ซึ่งส่งผลให้เกิดรูปธรรมของการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ หรือการจัดตั้งกลไก
           เพิ่มเติมจากข้อบทในสนธิสัญญาหลักนั้น ๆ
                สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนและพิธีสารเลือกรับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เรียงตาม
           ล�าดับจากการมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย สรุปได้ดังนี้



                ๑.๑ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (International Convention
           on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย
           เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘





                    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๘ โดยท�าถ้อยแถลงตีความไว้ ๑ ข้อ
              เกี่ยวกับการบังคับใช้ภายในประเทศ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปัจจุบัน ยังคงเหลือ

              ข้อสงวน ๑ ข้อ คือ การให้อ�านาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท


                    เนื้อหามีทั้งหมด ๓๐ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
                    ส่วนที่หนึ่ง (ข้อบทที่ ๑ - ๑๖) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของสตรี การขจัดการเลือกปฏิบัติ

              ต่อสตรี รวมทั้งการประกันว่าสตรีและบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน โดยรัฐภาคี
              มีหน้าที่ต้องก�าหนดมาตรการ เพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี ปรับรูปแบบทางสังคม และ
              วัฒนธรรมเพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ปราบปรามการลักลอบค้าและแสวงประโยชน์ทางเพศ
              ต่อสตรี ประกันความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการด�ารงชีวิตทั้งในระดับ

              ประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้ด�ารงต�าแหน่งที่ส�าคัญ ความเท่าเทียมกัน
              ในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา การได้รับโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน การป้องกันความ
              รุนแรงต่อสตรีในสถานที่ท�างาน ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การประกันความเป็นอิสระ
              ด้านการเงิน และความมั่นคง ด้านสังคมและการให้ความส�าคัญแก่สตรีในชนบท ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย

              (โดยเฉพาะด้านแพ่ง และครอบครัว) ซึ่งประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล


           ๑๐  The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2016). The Core International Human Rights Instruments and their monitoring bodies.
             Retrieved from www.ohchr.org/EN/ProfessionalInterest/Pages/CoreInstruments.aspx


           52 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58