Page 52 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 52
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
• การส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศิลปะวิทยาการ ความเข้มแข็งของ
สังคม ความสามารถของคนในชุมชน (มาตรา ๖๙)
• การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ (มาตรา ๗๐)
• การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว การมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ดูแลสุขภาพ ส่งเสริม
การเป็นพลเมืองที่ดี การช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส
การสร้างความเป็นธรรมทางเพศ วัย และสภาพของบุคคล (มาตรา ๗๑)
• การด�าเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรที่ดิน น�้า พลังงาน อย่างเหมาะสม ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การกระจายการถือครองอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม บทที่
๑
เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคของประชาชน (มาตรา ๗๒)
• การจัดท�ามาตรการ/กลไกช่วยให้เกษตรกรประกอบการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลผลิตสูง
ปลอดภัย ใช้ต้นทุนต�่า แข่งขันได้ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากไร้ (โดยการปฏิรูปที่ดิน และอื่น ๆ)
(มาตรา ๗๓)
• การส่งเสริมการท�างานอย่างเหมาะสม มีศักยภาพ คุ้มครองปลอดภัย มีสวัสดิการที่ดี มีการออม
เพื่อการด�ารงชีพ การมีระบบแรงงานสัมพันธ์ทุกฝ่ายเกี่ยวข้อง และมีกระบวนการมีส่วนร่วม
(มาตรา ๗๔)
• การจัดการระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ยั่งยืน พึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรา ๗๕)
• การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักกิจการบ้านเมืองที่ดี การจัดท�าบริการ
สาธารณะ การใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐให้ซื่อสัตย์
สุจริต มีทัศนคติบริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่
อย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา ๗๖)
• การดูแลให้มีกฎหมายที่จ�าเป็น การยกเลิก ปรับปรุง กฎหมายที่หมดความจ�าเป็นหรือไม่สอดคล้อง
กับสภาพการณ์ การรับฟังความคิดเห็นก่อนการตรากฎหมาย การเปิดเผยผลการรับฟัง และน�าผล
มาพิจารณาร่วม (มาตรา ๗๗)
• การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการปกครอง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ การจัดท�า
บริการสาธารณะในทุกระดับ และการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ (มาตรา ๗๘)
ทั้งนี้ โดยลักษณะการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยเป็นแบบทวินิยม (dualism) กล่าวคือ การกระท�าการใด ๆ
๖
ที่เป็นข้อผูกพันอันเนื่องมาจากการเข้าเป็นภาคี (การให้สัตยาบัน หรือการภาคยานุวัติ ) ของสนธิสัญญาใด ๆ
๘
๗
จะมีผูกพันกับการด�าเนินงานภายในประเทศ ก็ต่อเมื่อมีการอนุวัติการ กฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา
๙
นั้น ๆ ก่อน ในขณะที่ประเทศไทยถือแนวปฏิบัติที่ผสมผสานระหว่างหลักกฎหมายลายลักษณ์อักษร (civil law) ซึ่งยึด
๖ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศแบ่งออกได้เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบเอกนิยม (monism) ซึ่งเห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ
นั้น ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในและระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อย และเห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศ มีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่า
กฎหมายภายในประเทศ ดังนั้น รัฐจึงไม่ต้องแปลงรูปกฎหมายระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศจะมีผลเป็นกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ ในขณะที่ระบบทวินิยม (dualism)
เห็นว่ากฎหมายภายในกับระหว่างประเทศมีศักดิ์ทางกฎหมายเท่ากัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันและมีระบบที่แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด เมื่อรัฐเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว
กรณีที่จะน�ากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับภายในประเทศได้ ต้องผ่านกระบวนการอนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องเสียก่อนจึงจะสามารถน�ามาบังคับใช้ได้. ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง.
(๒๕๖๐). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. สืบค้นจาก www.mjsheetramfree.com/law4003-kdhmay-rahwang-prathes-phaenk-khdi-meuxng-kar-sxbli-phakh-vdu-
rxn-pi-kar-suksa-2552
๗ การให้สัตยาบัน (ratification) คือ การที่รัฐหนึ่งซึ่งเป็นรัฐภาคีที่เข้าร่วมเจรจา (และ/หรือลงนามในสนธิสัญญา) ตั้งแต่แรก ได้ให้ความยินยอมของรัฐ เพื่อการผูกพันตามสนธิสัญญา
โดยการให้สัตยาบันจะเป็นการยืนยันว่า สนธิสัญญามีความถูกต้องสมบูรณ์ และประสงค์จะให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ การให้สัตยาบันของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกัน
ขึ้นกับรัฐธรรมนูญและแนวทางปฏิบัติของแต่ละประเทศ.
๘ การภาคยานุวัติ (accession) คือ การที่รัฐหนึ่งซึ่งไม่ได้เป็นรัฐภาคีที่เข้าร่วมเจรจา และลงนามในสนธิสัญญาตั้งแต่แรก ได้ด�าเนินการให้ความยินยอมเพื่อเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาและผูกพัน
ตามสนธิสัญญาที่รัฐอื่น ๆ ได้ท�าการวินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว.
๙ การอนุวัติการ (implementation) คือ การด�าเนินการให้เป็นผลตามบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาโดยการตรากฎหมายภายในประเทศ หรือปรับแก้กฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้อง
และรองรับกับสนธิสัญญาดังกล่าว.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 51