Page 51 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 51

•  เสรีภาพในการสื่อสาร (มาตรา ๓๖)

                                 •  สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก (มาตรา ๓๗)
                                 •  เสรีภาพการเดินทาง และการเลือกถิ่นที่อยู่ (มาตรา ๓๘)
                                 •  เสรีภาพในการประกอบอาชีพ (มาตรา ๔๐)
                                 •  สิทธิในการทราบข้อมูลข่าวสาร การร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผล การฟ้องหน่วยงาน (เจ้าหน้าที่)
                                   รัฐที่กระท�าละเมิด (มาตรา ๔๑)
                                 •  สิทธิในการรวมกลุ่ม การจัดตั้งสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะ (มาตรา ๔๒)
                                 •  สิทธิของบุคคล และชุมชนในการรักษา ดูแลจารีตท้องถิ่นอันดีงาม ในการจัดการ บ�ารุง
                                   ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
                                   การเข้าชื่อกันเสนอแนะรัฐ การจัดระบบสวัสดิการชุมชน (มาตรา ๔๓)

                                 •  สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ (มาตรา ๔๔)
                                 •  สิทธิในการจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา ๔๕)
                                 •  สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา ๔๖)
                                 •  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข (มาตรา ๔๗)
                                 •  สิทธิของมารดา (ก่อนและหลังคลอดบุตร) สิทธิของบุคคลที่อายุเกิน ๖๐ ปี และบุคคลยากไร้
                                   (มาตรา ๔๘)
                                 •  การห้ามใช้สิทธิและเสรีภาพในการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

                                   พระประมุข (มาตรา ๔๙)
                  หมวด ๕         •  การท�าหน้าที่ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงส�าหรับสาธารณะ การเปิดโอกาสให้ประชาชนติดตาม
                หน้าที่ของรัฐ      การด�าเนินการ และฟ้องร้องต่อรัฐ (มาตรา ๕๑)
               (มาตรา ๕๑-๖๓)     •  การจัดการศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่า ๑๒ ปี (มาตรา ๕๔)
                                 •  การบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐานสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง (มาตรา ๕๕)
                                 •  การจัดท�าสาธารณูปโภคพื้นฐาน (มาตรา ๕๖)

                                 •  การรักษา ดูแล จารีตท้องถิ่นอันดีงาม การจัดการ บ�ารุง ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
                                   และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมให้บุคคลและชุมชนมีส่วนร่วม และได้
                                   รับประโยชน์ (มาตรา ๕๗)
                                 •  การท�ากระบวนการมีส่วนร่วม การศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ
                                   ประชาชนหรือชุมชน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การให้ข้อมูล การด�าเนินการอย่าง
                                   ระมัดระวังผลกระทบ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม และโดยไม่ชักช้า (มาตรา ๕๘)
                                 •  การเปิดเผยข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานรัฐ (มาตรา ๕๙)

                                 •  การรักษาทรัพยากรคลื่นความถี่ (มาตรา ๖๐)
                                 •  การก�าหนดมาตรการและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา ๖๑)
                  หมวด ๖         •  การตรากฎหมายและนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา ๖๔)
              แนวนโยบายแห่งรัฐ   •  การพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน มีหลักธรรมาภิบาล บูรณาการความร่วมมือ การก�าหนด
               (มาตรา ๖๔-๗๘)       ยุทธศาสตร์ชาติ การมีส่วนร่วมรับฟังความเห็นทุกภาคส่วน (มาตรา ๖๕)

                                 •  การสร้างสัมพันธภาพกับนานาชาติ เสมอภาค และคุ้มครองประโยชน์ของชาติ (มาตรา ๖๖)
                                 •  การคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น (มาตรา ๖๗)
                                 •  การบริหารกระบวนการยุติธรรม อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ประชาชน
                                   เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง การคุ้มครองมิให้มีการแทรกแซง และการช่วยเหลือ
                                   ทางกฎหมาย (มาตรา ๖๘)





           50 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56