Page 50 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 50
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังพยายามท�าให้สิทธิบางอย่างที่เขียนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพเป็นจริง
โดยก�าหนดให้มีหมวดหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติม เพื่อเป็นหลักประกันว่า รัฐต้องปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ท�าให้สิทธิ
ของประชาชนอันที่จะได้รับประโยชน์จากรัฐเกิดขึ้นอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ โดยก�าหนดให้รัฐต้องด�าเนินการ และก่อให้เกิด
สิทธิของประชาชน และชุมชนในการติดตามเร่งรัดให้รัฐด�าเนินการ รวมถึงฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหากไม่มี
การด�าเนินการดังกล่าว หมวดหน้าที่ของรัฐจึงเป็นหลักการส�าคัญและจ�าเป็นที่รัฐจะต้องด�าเนินการให้ครบถ้วน โดยเหมาะสม
กับสถานะทางการเงิน และการคลังของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหมวดปฏิรูปประเทศ เพื่อขจัด หรือลดความขัดแย้งและ
ความเลื่อมล�้าในสังคม โดยก�าหนดให้ต้องจัดท�ากฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปภายใน ๑๒๐ วัน และให้เริ่ม บทที่
ด�าเนินการตามแผนในการด�าเนินการปฏิรูปประเทศภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ๑
อนึ่ง แม้ว่าสิทธิจะเกิดขึ้นมาก่อนรัฐ และรัฐมีหน้าที่ต้องเคารพ คุ้มครอง และด�าเนินการให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริง
แต่ด้วยเหตุของความพยายามในการบริหารจัดการให้เกิดสิทธิต่าง ๆ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงบัญญัติในลักษณะสิทธิ
ที่รัฐท�าให้เกิดขึ้นเป็นส�าคัญมากกว่า โดยแม้ว่าจะบัญญัติให้มีการกระจายอ�านาจและการบริหารจัดการในระดับย่อย และ
คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
และผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ�านวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชน
ชาวไทย หรือหมวดหน้าที่ของรัฐได้ แต่ยังคงต้องมีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เป็นจริง และมีความยั่งยืน
โดยการใช้กระบวนการส่งเสริม และรับประกันให้ประชาชนในฐานะผู้ทรงสิทธิสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับสิทธิ โดยสรุป ดังนี้
๕
หมวด ๑ • ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
บททั่วไป (มาตรา ๔)
หมวด ๓ • การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หากไม่กระทบ หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคง
สิทธิและเสรีภาพของ ของรัฐ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
ปวงชนชาวไทย (มาตรา ๒๕)
(มาตรา ๒๕-๔๙) • การตรากฎหมายที่กระทบ หรือจ�ากัดสิทธิ หรือเสรีภาพ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดกับหลักนิติธรรม กระท�าการสมควรแก่เหตุ ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ และมีเหตุผลในการด�าเนินการ (มาตรา ๒๖)
• บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เท่าเทียมกัน ชายและหญิงเท่าเทียมกัน การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลโดยเหตุต่าง ๆ
การมีมาตรการเสริม และการเลือกปฏิบัติเชิงบวกกระท�าได้ เจ้าหน้าที่รัฐอาจจะถูกจ�ากัดสิทธิและ
เสรีภาพโดยเหตุการเมือง สมรรถภาพ วินัย จริยธรรม (มาตรา ๒๗)
• เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๒๘)
• สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา ๒๙)
• สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงานในภาวะทั่วไป ยกเว้นภาวะที่ไม่ปกติ (มาตรา ๓๐)
• สิทธิในการนับถือศาสนา (มาตรา ๓๑)
• สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (มาตรา ๓๒)
• เสรีภาพในเคหะสถาน (มาตรา ๓๓)
• เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น และเสรีภาพทางวิชาการ (มาตรา ๓๔)
• เสรีภาพสื่อมวลชน (มาตรา ๓๕)
๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยการสรุปในส่วนนี้แสดงประเด็นที่สิทธิตามที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นส�าคัญ
มิได้จัดระบบตามกรอบสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 49