Page 49 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 49
บทที่ ๑ สิทธิและเสรีภาพ
ที่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย
ก. ระบบการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
ของประเทศไทย
ประเทศไทยมีรูปแบบการเมืองการปกครองแบบนิติรัฐ ยึดกรอบการปฏิบัติตาม
กฎหมายเป็นส�าคัญ และถือแนวปฏิบัติของการมีอ�านาจทางกฎหมายเหนือดินแดน
๓
ในการปกครองของตนเอง โดยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุด
ของประเทศ ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พุทธศักราช ๒๔๗๕ และต่อมาได้ประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕
ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ เป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐
๔
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในหมวดทั่วไป และ
รับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในหมวด ๓ โดยวางหลักให้สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยนอกจากที่
ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น และการนั้นไม่กระทบต่อ
ความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นนั้น ย่อมมี
สิทธิและเสรีภาพกระท�าการนั้นได้โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
๓ แนวความคิดเรื่องนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม (Rule of law) มาจากแนวคิดที่ว่า การปกครองที่ดีไม่ใช่การปกครองโดยปุถุชน หากแต่เป็นการปกครองโดยกฎหมาย เพราะการปกครองโดย
ปุถุชนย่อมเสี่ยงต่อการปกครองตามอ�าเภอใจ ขณะที่การปกครองโดยกฎหมายเอื้ออ�านวยต่อการที่จะมีความเสมอภาค (equality) และเสรีภาพ (liberty) มากกว่า เพราะหากมีการปกครอง
โดยหลักนิติธรรมอยู่จริง ทุกคนก็จะมีความเสมอภาคกันในสายตาของกฎหมาย และมีเสรีภาพ คือ ปราศจากความหวาดกลัวว่าจะมีการใช้อ�านาจตามอ�าเภอใจโดยผู้ปกครอง แนวความคิด
นี้จึงเป็นที่มาของลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) โดยประเทศที่เป็นนิติรัฐมีลักษณะส�าคัญ คือ (๑) กฎหมายในประเทศนั้น ๆ เป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย โดยมี
การบัญญัติหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ในกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่รัฐย่อมมีความผิดทางกฎหมาย หากกระท�าการใด ๆ ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพโดยไม่มีกฎหมายให้อ�านาจ
(๒) ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ มีการก�าหนดขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งอ�านาจเป็น ๓ ส่วน คือ อ�านาจนิติบัญญัติ อ�านาจบริหาร และอ�านาจตุลาการ มีขอบเขตในการ
ใช้อ�านาจของรัฐ (เจ้าหน้าที่รัฐ) ที่ลดหลั่นไปตามระดับ มีการควบคุมการใช้อ�านาจในขอบเขตอย่างชัดเจน และ (๓) ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ศาลยุติธรรม (ผู้พิพากษา) จะต้องมีอิสระในการ
พิจารณาพิพากษาคดี (ทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และอื่นๆ) โดยมีหลักประกันดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและท�าหน้าที่ควบคุมฝ่ายปกครองโดยการใช้กฎหมาย.
๔ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (๒๕๖๐). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.senate.go.th
48 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐