Page 95 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 95

จุดร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเป็นภาคีตราสารด้านสิทธิมนุษยชนยังมีเพียงสองฉบับ  คือ  อนุสัญญาว่าด้วย
          สิทธิเด็ก (CRC) และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) โดยสมาชิกอาเซียน

          บางประเทศเข้าเป็นภาคีในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนเพียง ๓ ฉบับเท่านั้น นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาการเข้าเป็นภาคีใน
          พิธีสารเลือกรับ (Optional Protocol) ของตราสารแต่ละฉบับประกอบด้วย ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าแสดงความ
          จริงจังและก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิเด็ก โดยได้เป็นประเทศแรก (และปัจจุบันยังเป็นประเทศเดียว) ในอาเซียนที่เข้าเป็น

          ภาคีพิธีสารเลือกรับฉบับที่  ๓  ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ซึ่งก�าหนดกระบวนการร้องเรียนประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติ
          ตามพันธกรณีจากอนุสัญญาดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม  ประเทศไทยก็ยังมิได้เข้าเป็นภาคีในพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญา
          อื่น ๆ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) ทั้งที่ก�าหนดกระบวนการร้องเรียนการไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาของ

          ประเทศสมาชิก เช่นเดียวกับพิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๓ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเช่นเดียวกัน
                             ประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน คือ การถอนข้อสงวนหรือแถลงการณ์ที่มีผลเป็นการจ�ากัดขอบเขตพันธกรณี
          ตามตราสารสิทธิมนุษยชน  การที่ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีตราสารสิทธิมนุษยชน  มิได้หมายความว่าจะก่อให้เกิดพันธกรณี

          ตามที่ก�าหนดไว้ในตราสารนั้นอย่างเต็มรูปแบบ หากประเทศดังกล่าวมีข้อสงวน (Reservation) หรือยื่นค�าแถลงการณ์
          ซึ่งจะท�าให้ขอบเขตการบังคับใช้ตราสารที่เข้าเป็นภาคีจ�ากัดลง  โดยจากข้อมูลที่ปรากฏเป็นตัวอย่างในตารางที่  ๘  แสดง

          ให้เห็นว่า  แม้แต่ในอนุสัญญาด้านเด็กและสตรี  ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศได้เข้าเป็นภาคีแล้ว  ก็ยังมีขอบเขต
          การปฏิบัติการที่แตกต่างกัน สมควรที่ประเทศไทยจะแสดงความเป็นผู้น�าโดยการพิจารณาถอนข้อสงวนหรือเพิกถอน
          ค�าแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ยื่นในการเข้าเป็นภาคีตราสารสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เพื่อแสดงให้ประเทศสมาชิกอื่นเห็นถึงแนวทาง

          ที่สมควรด�าเนินการในเรื่องดังกล่าว
                             ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ คือ การเสริมสร้างมาตรการภายใน

          ประเทศที่ท�าให้การอนุวัติการตามพันธกรณีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นประเด็นที่ส�าคัญที่สุด  เนื่องจากการส่งเสริม
          และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพที่สุด ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์ว่า นอกจากประเทศต่าง ๆ จะได้
          เข้าเป็นภาคีตราสารสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเงื่อนไขเชิงกระบวนการแล้ว ประเทศที่เป็นภาคีดังกล่าว ได้อนุวัติการให้เป็นไป

          ตามพันธกรณีหรือไม่  อย่างไร  มิเช่นนั้นการเข้าเป็นภาคีย่อมมีคุณค่าเพียงในเชิงสัญลักษณ์และใช้เป็นผลงานทางการเมือง
          ระหว่างประเทศที่ไม่ส่งผลดีอย่างแท้จริงต่อประชาชนในประเทศภาคี หากพิจารณาจากตารางที่ ๙ ซึ่งแสดงการเข้าเป็น
          ภาคีของประเทศสมาชิกอาเซียนในตราสารสิทธิมนุษยชนทั้ง ๙ ฉบับ จะเห็นได้ว่าบางประเทศได้เข้าเป็นภาคีเกือบทุกหรือ

          ทุกฉบับ  แต่ในทางปฏิบัติยังปรากฏประเด็นปัญหาการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามตราสารต่างๆ  ที่ได้เข้าเป็นภาคี
          อยู่อีกมากมาย  ส�าหรับประเทศไทยซึ่งได้เป็นภาคีในตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแล้ว  ๗  ฉบับจึงจ�าต้องด�าเนิน
          การอนุวัติการตามพันธกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ

                             ทั้งสามประเด็นที่ได้เสนอเป็นแนวทางข้างต้นนั้น  ล้วนเป็นประเด็นที่ประเทศไทยได้แสดงท่าทีต่อ
          นานาประเทศว่าสามารถด�าเนินการได้  โดยในการพิจารณารายงานของประเทศไทยในกระบวนการทบทวนสถานการณ์

          สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Human
          Rights Council) 59



                 59  รายงานการด�าเนินการตามข้อแนะน�าและค�ามั่นโดยสมัครใจของประเทศไทยในรอบการพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชน

          รอบแรก (Highlights of Thailand’s implementation of recommendations and voluntary pledges under the first cycle
          of the Universal Periodic Review 2012-2014 (Mid-term update)) สืบค้นจาก http://ohchr.org/EN/HRBodies/UPR/Pages/
          UPRImplementation.aspx เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘


        94
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100