Page 97 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 97
อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบในประเด็นสารัตถะ จึงท�าให้การประสานงานทั้งในระดับระหว่าง
ประเทศและในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และความร่วมมือที่เกี่ยวข้องยังด�าเนินการไม่ประสบผลเท่าที่ควร
ดังนั้น ข้อเสนอเชิงโครงสร้างที่ กสม. ควรพิจารณาด�าเนินการโดยทันที โดยไม่จ�าต้องแก้ไขกฎหมายจัดตั้ง คือ การจัดตั้ง
หน่วยงานเฉพาะด้านอาเซียนหรือด้านกิจการอาเซียน (Unit on ASEAN Affairs) เช่น หน่วยงานภายในระดับกอง หรือ
คณะอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดย กสม. ที่มีกรอบอ�านาจหน้าที่พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้าม
พรมแดนในอาเซียนและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน โดยเฉพาะ AICHR ซึ่งหากหน่วยงาน
ที่มีภารกิจเฉพาะด้านอาเซียนดังกล่าวสามารถด�าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับ
ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ในบริบทประชาคมอาเซียน และการท�างานของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนเองอีกด้วย
ทั้งนี้ ประเด็นที่ส�าคัญ คือ การจัดตั้งหน่วยงานภายในเพื่อให้สามารถส่งต่อองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพขององค์กรในด้าน
กิจการอาเซียนได้อย่างต่อเนื่อง
๒. การเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนและของประเทศสมาชิก
ในอาเซียนให้กับบุคลากร
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนและในประเทศสมาชิกอาเซียนถือเป็น
พื้นฐานส�าคัญในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรของ ส�านักงาน กสม. ในการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนและการพัฒนามาตรฐานสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ทั้งนี้ ประเด็นที่ส�าคัญเบื้องต้น
คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนซึ่งยังมีความสับสนว่าเป็นการรวมตัวเฉพาะเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ
และการสร้างฐานการผลิตร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้น และยังขาดความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดนซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดความถี่และความรุนแรงมากยิ่งขึ้นภายใต้กรอบการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
(Economic integration) ซึ่งมีการขจัดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตต่างๆ และเอื้อให้ทุนและการจัดตั้งหน่วย
ธุรกิจสามารถด�าเนินการได้ง่ายดายยิ่งขึ้น โดยมิจ�าต้องกล่าวถึงสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของ
ประชาคมอาเซียน ซึ่งการพัฒนาความเข้าใจองคาพยพและการท�างานของประชาคมอาเซียน ผลกระทบ (ทั้งด้านบวกและ
ลบ) จากการรวมตัวทางเศรษฐกิจและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรของ ส�านักงาน กสม. นี้เป็นสิ่งที่
สามารถและสมควรด�าเนินการควบคู่กับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านอาเซียนที่ได้เสนอในหัวข้อก่อนหน้านี้
๗.๒ มุมมองและข้อเสนอแนะต่อบทบาทของประเทศไทยในการปฏิรูปสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
นอกเหนือจากแนวทางการปฏิรูปสิทธิมนุษยชนที่สามารถด�าเนินการได้ในระดับประเทศแล้ว
ประเทศไทยยังสามารถแสดงบทบาทโดยตรงในระดับภูมิภาคในด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างหลากหลาย โดยขอหยิบยก
ประเด็นที่ส�าคัญเพื่อให้พิจารณาด�าเนินการ ดังนี้
96
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ