Page 91 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 91
AICHR ได้มีการหารือถึงแนวทางที่จะจัดกิจกรรมต่อเนื่องเมื่อมีการสรุปผลรายงานเฉพาะเรื่อง
และมีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวแล้ว โดยแนวทางหนึ่ง คือ การพัฒนาตราสารในระดับภูมิภาค เช่น ในกรณีประเด็น
ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท อาจมีการจัดท�าแผนการระดับภูมิภาคว่าด้วยการน�าหลักการของสหประชาชาติว่าด้วย
แนวทางเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Guiding Principles on Business and Human Rights) อย่างไรก็ตาม
แนวทางนี้ก็ยังไม่ปรากฏความชัดเจนในการด�าเนินการ เนื่องจากวิธีปฏิบัติของ AICHR ยังให้ประเทศที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ในการจัดท�ารายงานเฉพาะเรื่องเป็นผู้เสนอแนวทางการด�าเนินการต่อเนื่อง
๒. การจัดท�าแผนงานระดับภูมิภาค (Regional Plan of Action)
แนวทางของ AICHR ที่มีความชัดเจนมากกว่าทิศทางแรก คือ การจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับ
ภูมิภาคในด้านสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน ซึ่งอาจน�าไปสู่การจัดท�าตราสารที่มีผลผูกพันในทางกฎหมายได้ต่อไป โดยแผน
ปฏิบัติการฉบับแรกที่ AICHR ได้พิจารณา คือ แผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้พิการในภูมิภาคอาเซียน (Regional
Plan of Action on the Rights of Persons with Disabilities) ซึ่งได้เริ่มด�าเนินการโดยการจัดกิจกรรมการหารือใน
ระดับภูมิภาคที่ประเทศไทยในเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมระดับภูมิภาคอาเซียน และ AICHR ยังมีแผนงาน
ที่จะจัดการหารือเพื่อพิจารณาแผนระดับภูมิภาคดังกล่าวในครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ อย่างไรก็ตาม ความส�าเร็จในการ
ด�าเนินการยังไม่แน่ชัดเนื่องจากยังมีตัวแปรทั้งในแง่กระบวนการและความยินยอมพร้อมใจของฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
ผู้แทนของ AICHR
๖.๓.๒ คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC)
ACWC มีผลงานส�าคัญในการพัฒนาแผนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็กในอาเซียน
โดยได้จัดท�าแผนระดับภูมิภาคสองฉบับ เพื่อขจัดความรุนแรงต่อสตรี (ASEAN Regional Plan of Action on Elimination
of Violence against Children: ASEAN RPA on EVAC) และเด็ก (ASEAN Regional Plan of Action on the
Elimination of Violence against Women: ASEAN RPA on EVAW) ซึ่งผู้น�าอาเซียนได้รับรองในการประชุมที่
กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งแผนทั้งสองฉบับ ถือเป็นเอกสารที่จะน�าไปสู่ขจัดความรุนแรงต่อสตรี
และเด็กในอาเซียนตามหลักการที่ปรากฏในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในอาเซียน
(Declaration on the Elimination of Violence Against Women and Elimination of Violence Against
Children in ASEAN) ซึ่ง ACWC เป็นผู้ยกร่างและที่ประชุมผู้น�าอาเซียนได้รับรองในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ อย่างไรก็ตาม เมื่อ
54
พิจารณาแผนงาน ๕ ปีของ ACWC ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔- ๒๕๕๙ แล้วยังไม่ปรากฏความชัดเจนว่า ACWC มีแผน
ที่จะพัฒนาตราสารอาเซียนด้านสตรีและเด็ก นอกเหนือจากประเด็นการขจัดความรุนแรง
54
เอกสารเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก สืบค้นจาก http://www.asean.
org/images/2013/resources/publication/ASEAN%20ACWC.pdf
90
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ