Page 98 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 98
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
๗.๒.๑ การปฏิรูปกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (Reform of ASEAN Human Rights Mechanism)
การประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และก่อตั้ง AICHR ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ถือเป็นหลัก
หมุดที่ส�าคัญในประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของอาเซียน อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลากว่า ๖ ปีที่ AICHR
ได้ปฏิบัติหน้าที่มาถึงสองวาระ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า AICHR และกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนอื่นๆ ไม่สามารถท�าหน้าที่
ในการให้ความคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือกรณีมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งไม่อาจพึ่งพิง
กลไกสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกใดเป็นการเฉพาะได้ จากสาเหตุที่ได้วิเคราะห์ไว้ในบทที่ ๖ ดังนั้น การปฏิรูปกลไก
สิทธิมนุษยชนอาเซียนจึงถือเป็นทางออกที่ส�าคัญและจ�าเป็นเพื่อให้อาเซียนก้าวข้ามข้ออ้างที่มักถูกหยิบยกว่า การส่งเสริม
ควรมาก่อนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Promotion first, protection later) ซึ่งการทบทวนขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของ
AICHR เมื่อครบระยะเวลา ๕ ปีนับแต่ประกาศใช้ TOR เป็นกลไกที่ก�าหนดไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้วในเอกสาร TOR แต่เมื่อ
ครบก�าหนดระยะเวลาดังกล่าวกลับยังขาดความชัดเจนในระดับนโยบายว่าจะให้มีการทบทวนเอกสารดังกล่าวหรือไม่และ
อย่างไร ทั้งนี้ โดยที่หน่วยงานที่มีอ�านาจหน้าที่โดยตรงในการแก้ไขปรับปรุงขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของ AICHR คือ ที่ประชุม
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) กสม. จึงควรผลักดันให้สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติอื่นๆ ในอาเซียนมีท่าทีและ
จัดท�าข้อเสนอแนะร่วมกันต่อ AMM ให้เร่งด�าเนินการให้มีการทบทวน TOR ของ AICHR เพื่อให้สามารถท�าหน้าที่เป็น
องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ท�าหน้าที่ทั้งในด้านการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนได้อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
๗.๒.๒ การผลักดันสิทธิมนุษยชนให้เป็นแนวนโยบายและเป้าหมายของประชาคมอาเซียน
(Mainstreaming of Human Rights in the ASEAN Community)
ดังที่ได้วิเคราะห์ในบทที่ ๖ เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาของประชาคมอาเซียนแล้วว่า ประชาคม
อาเซียนก�าหนดพันธกรณีนอกเหนือจากมาตรการทางด้านเศรษฐกิจ โดยยังรวมถึงพันธกรณีความร่วมมือในด้านการเมือง
และความมั่นคง และด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งในวิสัยทัศน์ในระยะสิบปีข้างหน้าของอาเซียนก็ได้น�าประเด็น
สิทธิมนุษยชนก�าหนดเป็นเป้าหมายอย่างชัดเจนในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นในประชาคม
การเมืองและความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ความท้าทายยังคงมีอยู่ว่าจะท�าให้วิสัยทัศน์เหล่านี้มีผลในทางปฏิบัติได้อย่างไร อีกทั้ง
ในประชาคมเศรษฐกิจไม่ปรากฏการอ้างอิงหรือแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนมีเพียงหลักการเรื่องการพัฒนา
อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งยังต้องรอชั้นการอนุวัติการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวว่าจะสามารถพัฒนา
และน�าแนวคิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นประเด็นพื้นฐานที่มีความเกี่ยวพันกับทุกภาคส่วนของประชาคม (Crosscutting Issue)
60
และรวมถึงการน�าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป็นส่วนหนึ่งของการด�าเนินการ
ควบคู่กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอาเซียนว่าจะสามารถด�าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงไร ความท้าทายนี้
จึงเป็นประเด็นที่ประเทศไทยจะสามารถแสดงบทบาทการเป็นผู้น�าในการผลักดันให้มีการน�าแนวคิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ
เป็นวาระของประชาคมในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในประเด็นที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญหรือได้รับการยอมรับ
จากนานาประเทศ เช่น การให้ความคุ้มครองผู้พิการ หรือการก�าหนดนโยบายสาธารณสุขที่ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึง
การได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง (Universal Healthcare) และส�าหรับ กสม. ประเด็นที่สมควรผลักดันให้ทุกประชาคมของ
อาเซียนก�าหนดเป็นวาระระดับภูมิภาค คือ การจัดการผลกระทบเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ (Negative Impacts)
60 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง ๑๗ ด้านและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ๑๖๙ ข้อ สืบค้นได้จาก https://sustainabledevelopment.
un.org/
97
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ