Page 93 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 93

บทบาทของประเทศไทยในการผลักดัน

                         ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน






                  ประเทศไทยมีบทบาทที่ส�าคัญในภูมิภาคอาเซียน นอกเหนือจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ส�าคัญสอง

          ประการ คือ การที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนและเป็นแหล่งก�าเนิดของอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และ
          ของ AICHR ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ แล้ว ประเทศไทยยังอยู่ในต�าแหน่งที่เป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของอาเซียนและมีขนาด
                                            55
          เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ  ๒  ของอาเซียน   ในทางตรงกันข้าม  อาเซียนก็มีความส�าคัญต่อประเทศไทยอย่างยิ่งทั้งในทาง
          เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในทางเศรษฐกิจ ในทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างกันระหว่างประเทศสมาชิกภายในอาเซียน
                                                                              56
          มีปริมาณถึงร้อยละ ๒๕.๕ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศสมาชิกรวมกัน  นอกจากนั้น เมื่ออาเซียนเข้าสู่การ
          เป็นประชาคมอย่างเต็มรูปแบบในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (หรือตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙) แล้ว ความสัมพันธ์
          และการพึ่งพิงระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนย่อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตทั้งสินค้า บริการ เงินทุนและ
          การจัดตั้งกิจการระหว่างรัฐสมาชิก  และที่ส�าคัญที่สุดคือประชากรอาเซียนที่จะมีการเดินทางไปมาระหว่างรัฐสมาชิกทั้งเพื่อ
                                             57
          การท่องเที่ยว  ท�างานหรือประกอบกิจการ   ซึ่งการรวมตัวที่เพิ่มมากขึ้นนี้  ย่อมน�ามาทั้งโอกาสและความเสี่ยงในด้าน
          เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองต่อประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงประเทศไทย และแน่นอนว่า โอกาสและความเสี่ยง



                 55
                   วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) (เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘) มีมูลค่า ๓๐๗,๘๗๒ ล้านดอลล่าร์
          สหรัฐ เป็นรองจากอินโดนีเซีย ที่มี GDP อันดับหนึ่งในอาเซียนที่มูลค่า ๙๘๓,๕๗๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สืบค้นจาก http://www.asean.org/
          images/2015/september/selected-key-indicators/ table1_as%20of%20Aug%202015.pdf  เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
                 56
                   ข้อมูลเกี่ยวกับ external trade ของอาเซียนในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ สืบค้นจาก http://www.asean.org/images/2015/
          July/external_trade_statistic/table18_asof17June15.pdf  เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
                 57
                    แม้ว่าพันธกรณีด้านเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนในด้านการเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดา  (Movement  of  Natural
          Persons) จะก�าหนดให้สิทธิเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือหรือแรงงานวิชาชีพก็ตาม แต่แรงงานโดยทั่วไปก็มีการเคลื่อนย้ายเช่นเดียวกันและมี
          จ�านวนมากกว่าแรงงานวิชาชีพด้วย (เนื่องจากแรงงานวิชาชีพจะย้ายการประกอบวิชาชีพได้เฉพาะเมื่อเข้าเงื่อนไขและด�าเนินการหลักเกณฑ์
          การรับรองคุณสมบัติ (Mutual Recognition) แล้ว)


       92
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98