Page 100 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 100

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





                         ๑. การเสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกสิทธิมนุษยชนส�าหรับสตรีและเด็กในอาเซียน

                            สิทธิสตรีและเด็กถือเป็นจุดร่วมในด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกอาเซียน แต่จ�าต้องมีการพัฒนา
            ในอีกหลายด้าน โดยเฉพาะการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพของกลไกสิทธิมนุษยชนในประเด็นดังกล่าวซึ่งมี

            องค์กรที่มีภารกิจโดยตรง คือ AICHR และ ACWC


                         ๒. การพัฒนาตราสารด้านสิ่งแวดล้อมในอาเซียน

                            ผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Impact) เป็นประเด็นที่
            เกิดขึ้นบ่อยครั้งและในหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเต็ม
            รูปแบบแล้ว เนื่องจากการลงทุนข้ามพรมแดนสามารถด�าเนินการได้โดยมีอุปสรรคน้อยลงโดยเฉพาะในด้านกฎระเบียบ

            ในปัจจุบันอาเซียนมีเพียงข้อตกลงในรูปแบบอนุสัญญาเฉพาะประเด็นหมอกควันข้ามพรมแดน แต่ยังขาดตราสารว่าด้วย
            ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป ที่จะเป็นเครื่องมือในการก�ากับดูแลการด�าเนินโครงการในประเทศสมาชิกที่อาจส่งผลกระทบ
            ต่อประเทศสมาชิกอื่น ๆ



                         ๓. การประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights)

                            การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี (สินค้า บริการ ทุน แรงงานวิชาชีพและการจัดตั้งธุรกิจ) มากขึ้น
            ภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท�าให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่ภาคธุรกิจจะละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
            โดยเฉพาะในประเทศปลายทางหรือประเทศผู้รับการลงทุน  สมควรให้มีการศึกษาประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างการค้าเสรี

            และการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อพัฒนาหลักการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและมีธรรมาภิบาลเพื่อให้
            การพัฒนาเศรษฐกิจในอาเซียนเป็นไปอย่างยั่งยืน



                         ๔. บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับ
            ภูมิภาค

                            อนุสัญญาอาเซียนต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กอยู่ระหว่างรอการให้สัตยาบัน ซึ่งเมื่อ
            ครบหกประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วก็จะมีผลใช้บังคับทันที  (คาดว่าจะมีการให้สัตยาบันครบหกประเทศภายในปี  ๒๐๑๖)
            ขณะนี้กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนร่วมกับที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) อยู่ระหว่าง

            การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรองรับการบังคับใช้อนุสัญญาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ และ
            กสม. สามารถเตรียมความพร้อมด้วยการวิจัยพันธกรณีตามอนุสัญญาเพื่อเตรียมความพร้อมในระดับประเทศต่อไป






















                                                                                                              99
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105