Page 94 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 94
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
ดังกล่าวย่อมมีต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน ความเจริญและก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจจะท�าให้ความเป็นอยู่
ของประชาชนโดยทั่วไปดีขึ้นและในเวลาเดียวกันจะก่อให้เกิดประเด็นความอ่อนไหวต่อประชากรบางกลุ่มที่อาจถูกละเมิด
สิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้นจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มความเข้มข้นยิ่งขึ้นนี้ นอกจากนั้น การที่อาเซียนตั้งเป้าหมาย
เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและที่เน้นความส�าคัญต่อประชาชน (People-Centred and People Oriented
Community) ย่อมท�าให้เกิดความคาดหวังของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนที่จะเห็นการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเด็น
ต่าง ๆ และกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอาเซียน โอกาสและความเสี่ยงตลอดจน
ความคาดหวังต่อการพัฒนาหลักการและกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนย่อมเพิ่มมากขึ้นเมื่อจะครบรอบการจัดตั้งอาเซียน
๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์จะเป็นประธานอาเซียน) และส�าหรับประเทศไทยซึ่งจะเป็นประธานอาเซียน
อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีบทบาทที่ส�าคัญในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ใน
อาเซียน และสมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
จะแสดงบทบาทการเป็นผู้น�าในการผลักดันให้เกิดการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและการสร้างเครือข่ายการส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอาเซียน
๗.๑ มุมมองและข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รัฐถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทส�าคัญที่สุดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (นอกจากการที่อาจเป็น
ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างรุนแรงที่สุด) ในเอกสารขอบเขตหน้าที่ของ AICHR รับรองหลักการที่ว่า ความรับผิดชอบ
58
พื้นฐานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตกอยู่กับรัฐสมาชิกอาเซียน ในระดับประเทศ
มีข้อเสนอที่ประเทศไทยควรด�าเนินการเพื่อส่งเสริมบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยในสามประเด็นหลักต่อไปนี้
๗.๑.๑ การเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนและการอนุวัติการตาม
พันธกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ
การที่ประเทศไทยจะแสดงบทบาทผู้น�าด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับตัวอย่างที่ได้แสดงให้ประเทศสมาชิกอื่นได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นการยกระดับ
มาตรฐานสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคที่ส�าคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง คือ การกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเป็นภาคีใน
ตราสารสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ในบรรดาตราสารสิทธิมนุษยชนหลักจ�านวน ๙ ฉบับ ยังมีสองฉบับที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้
สัตยาบัน ได้แก่
๑) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
๒) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
ซึ่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
ประเทศไทยได้ลงนามแล้ว (เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน หากประเทศไทยต้องการแสดงบทบาท
ในการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในอาเซียนย่อมต้องริเริ่มโดยการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง จากตารางที่ ๘ ยังปรากฏว่า
58 เอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของ AICHR ข้อ ๒.๓
93
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ