Page 96 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 96
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
๗.๑.๒ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศสมาชิกอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
ภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศ ควรแสดงบทบาทเชิงรุกในการสนับสนุนประเทศสมาชิกอื่น
เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีประสบการณ์
ด�าเนินการอย่างยาวนาน เช่น กระบวนการการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับชาติตามหลักการปารีส (Paris
Principles) หรือกระบวนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มที่มีความอ่อนไหวหรือกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก สตรี
คนพิการ เป็นต้น และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เช่นนี้ไม่จ�ากัดเฉพาะองค์กรภาครัฐเท่านั้น ยังรวมไปถึงองค์กรภาค
เอกชนหรือภาคประชาสังคมที่สามารถสร้างเครือข่ายกับภาคประชาสังคมในประเทศสมาชิกอื่นเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้
หรือประสบการณ์ในการเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๗.๑.๓ การให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านสิทธิมนุษยชน
เป็นการให้ความช่วยเหลือโดยตรงตามค�าร้องขอของประเทศสมาชิกอื่น เช่น การให้ความช่วยเหลือ
ทางเทคนิคกับประเทศสมาชิกอื่น ซึ่งในด้านสิทธิมนุษยชนมีประเด็นอย่างหลากหลายที่ประเทศไทยสามารถด�าเนินการ
ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในทางเทคนิค (Technical Assistance) ได้ เช่น การแนะน�ากระบวนการจัดตั้งสถาบัน
ด้านสิทธิมนุษยชนระดับประเทศตามหลักการปารีส การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับประเด็นการสืบสวนสอบสวน
กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเด็นที่มีมิติด้านภูมิภาค เช่น การค้ามนุษย์และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
๗.๑.๔ การปรับโครงสร้างและสมรรถภาพองค์กรเพื่อรองรับภารกิจด้านประชาคมอาเซียน
กล่าวเฉพาะกรณีของส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีความจ�าเป็นต้อง
พิจารณาการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจด้านประชาคมอาเซียนที่มีข้อเท็จจริงในด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในระดับภูมิภาคหรืออย่างน้อยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน (Transboundary) ซึ่งท�าให้ต้องมีการประสาน
ความร่วมมือกับประเทศที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรของส�านักงาน กสม. ให้สามารถตรวจสอบข้อเท็จ
จริงที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเด็นที่สามารถด�าเนินการได้ในทันที ได้แก่
๑. การจัดตั้งหน่วยงานซึ่งมีภารกิจเฉพาะด้านอาเซียน (ASEAN Specific Unit)
นอกเหนือจากข้าราชการและพนักงานประจ�าของส�านักงาน กสม. ซึ่งท�าหน้าที่เป็นบุคลากรหลัก
ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการกระท�าที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ส�านักงาน กสม. ยังจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นหลายคณะตามประเด็นสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เช่น
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิสตรี และสิทธิเด็ก เป็นต้น โดยอนุกรรมการแต่ละคณะจะมีผู้ทรงคุณวุฒิและ
ที่ปรึกษาท�าหน้าที่ให้ความเห็นและค�าแนะน�าในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในวาระของ กสม. ชุดที่ ๒ (ด�ารงต�าแหน่งถึงปี
พ.ศ. ๒๕๕๘) ปรากฏข้อร้องเรียนที่มีลักษณะข้ามพรมแดนในอาเซียนขึ้นหลายกรณี ไม่ว่าจะที่เกิดจากผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิด
สิทธิมนุษยชนเป็นนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย (เช่น กรณีการก่อสร้างท่าเรือน�้าลึกทวาย หรือการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี) หรือ
ที่เกิดเหตุในต่างประเทศแต่มีผลกระทบต่อประเทศไทย (เช่น กรณีหมอกควันจากการเผาป่าในเกาะสุมาตรา) แต่กรณีเหล่านี้
95
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ