Page 55 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 55

39
          ขอบเขตอ�านาจหน้าที่ในการยึดถือสิทธิมนุษยชนเฉพาะที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีและเด็ก  แต่สิ่งที่เหมือนกับ AICHR และถือเป็น
          ประเด็นที่ท�าให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนยังขาดประสิทธิภาพหรือยังแตกต่างจาก

          กระบวนการที่ใช้ในภูมิภาคหลักอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวถึงในบทที่ ๒ คือ ทั้ง ACWC และ AICHR ไม่มีข้อก�าหนดที่ชัดเจนเกี่ยว
          กับการรับเรื่องราวร้องเรียนกรณีมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิก
                             และเนื่องจากทั้ง ACWC และ AICHR ต่างมีภารกิจในด้านสิทธิมนุษยชน ในเชิงโครงสร้างจึงมี

          ประเด็นการประสานงานและการร่วมมือระหว่างกันเพื่อลดความซ�้าซ้อน  (Duplication)  และสร้างเครือข่ายการส่งเสริม
          และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์กรทั้งสอง ยังขาดการประสานงาน

          และสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากในการท�าหน้าที่ของ AICHR ในวาระแรก (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕) AICHR
          ถือสถานะความเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนที่เหนือกว่าองค์กรอื่น (Overarching) จึงท�าให้เกิดอุปสรรคในการ
          สร้างความเข้าใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การสร้างความร่วมมือเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นในวาระที่สอง เมื่อ AICHR ได้ริเริ่มการเชิญ

          ACWC หารือร่วมกัน


                       ๔.๒.๓ คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการตามปฏิญญาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงาน

          ข้ามชาติ (ASEAN Committee on the Implementation of the ASEAN Declaration on the Protection
          and Promotion of the Rights of Migrant Workers)
                             ตามที่บ่งบอกโดยชื่อทางการ คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติตามปฏิญญาการคุ้มครอง

          และส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ หรือ ACMW ถูกจัดตั้งตามปฏิญญาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกด้านสิทธิ
          มนุษยชนของอาเซียนกลไกแรก อย่างไรก็ตาม อ�านาจหน้าที่ของ ACMW มีขอบเขตที่จ�ากัดกว่าของ AICHR และ ACWC

          โดยมีหน้าที่หลักในการอนุวัติการตามปฏิญญามากกว่าการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในความหมายโดยทั่วไป
          ACMW ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ ๑ คน และรายงานต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้าน
          แรงงานของอาเซียน (Senior Labour Officials Meeting of ASEAN หรือ SLOM)

                             หน้าที่ของ ACMW ตามที่ก�าหนดใน TOR คือ การแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดี และการส่งเสริม
          ความร่วมมือเพื่อให้เกิดตราสารระดับภูมิภาคในด้านแรงงานข้ามชาติ  และในทางปฏิบัติ  ACMW  ท�าหน้าที่เป็นหน่วย

          ประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานในลักษณะเดียวกับ AICHR และ
          ACWC และส�าหรับประเด็นภารกิจหลักของ ACMW ในการพัฒนาตราสารด้านแรงงานข้ามชาติของอาเซียน นับตั้งแต่จัดตั้ง
          ACMW ยังไม่สามารถจัดท�าร่างตราสารได้ส�าเร็จแม้ว่าจะใช้เวลาเกือบสิบปีในการด�าเนินการแล้วก็ตาม โดยข้อท้าทายที่

          ส�าคัญคือความแตกต่างของท่าทีของประเทศสมาชิกที่แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ส่งแรงงาน (Sending states) กลุ่มที่รับแรงงาน
          (Receiving states) และกลุ่มที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับแรงงาน (เช่นประเทศไทย) อีกทั้งหลายประเทศในอาเซียนยังมี
          ข้อสงวนในการรับรองสิทธิของแรงานข้ามชาติหลายประการ แม้แต่การใช้ค�าว่า “แรงงานข้ามชาติ” หรือ “แรงงานย้ายถิ่น”

          ยังเป็นที่ถกเถียง และมีความพยายามจะให้ใช้ค�าอื่นแทน เช่น ค�าว่า “แรงงานต่างชาติ” (foreign workers) เป็นต้น 40


                 39  ดังที่ก�าหนดไว้ในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากล ปฏิญญาเวียนนา อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

          อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก  แนวทางด�าเนินการตาม Beijing Platform for Action ในกรณีส�าหรับเด็ก และเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่
          ของคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี
                 40  From Directorate –General for External Policies of the Union, Directorate B Policy Department : Development
          of the Asian Human Rights Mechanism (pp 13-14) by Vitit Muntarabhorn,2012 European Parliament. Retrieved from
          http://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/note/join/2012/457120/EXPO-DROI_NT(2012)457120_EN.pdf

        54
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60