Page 59 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 59

๕.๑.๑ ข้อมูลตราสารทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

                             จากการตรวจสอบข้อมูลตราสารสิทธิมนุษยชนอาเซียน โดยใช้ฐานข้อมูลการประชุมผู้น�าอาเซียน
          (ASEAN  Summit)  ในแต่ละปีซึ่งแสดงถึงมติของที่ประชุมผู้น�าในการประชุม  ผู้วิจัยได้รวบรวมและจัดท�ารายละเอียด

          ในตารางที่ ๑ - ๓ โดยในตารางที่ ๑ เป็นข้อมูลหลักที่แสดงรายชื่อปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนตามปี
          ที่มีการรับรอง ตารางที่ ๒ แสดงรายชื่อปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน โดยแยกประเภทตามตราสารสิทธิ
          มนุษยชนระหว่างประเทศ  ๙  ฉบับ  (ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดต่อไปในหัวข้อ  ๕.๓)  ซึ่งการแยกตราสารอาเซียนตาม

          ประเภทของตราสารระหว่างประเทศก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการหรือการขาดพัฒนาการในแต่ละประเด็นหลักของ
                                                                                                44
          ตราสารระหว่างประเทศดังกล่าว และในตารางที่ ๓ แสดงตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเด็นอื่น ๆ  จากข้อมูลใน
          ตารางทั้งสามแสดงให้เห็นว่า

                             ๑. การพัฒนาตราสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของอาเซียนหลายฉบับเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการ
          ตรากฎบัตรอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๕๑) ซึ่งมีนัยที่ส�าคัญสามประการ คือ ในประการแรก
          ตราสารต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้เกิดขึ้นก่อนที่หลักการสิทธิมนุษยชนจะเป็นหลักการของอาเซียนดังที่ได้รับรองไว้ในกฎบัตร

          อาเซียนอย่างเป็นทางการ ประการที่สอง ตราสารต่าง ๆ ที่ปรากฏรายชื่อในส่วนนี้ ได้รับการพัฒนาตามเหตุผลและความ
          จ�าเป็นเฉพาะด้านตามแต่ละกรณี เช่น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันการก่อการร้าย หรือปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเป็นการ

          พิจารณาแยกส่วนมิใช่ในองค์รวม เนื่องจากยังขาดหลักการหรือตราสารในด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมที่จะเป็นจุด
          เกาะเกี่ยวเพื่อให้สามารถพิจารณาความเชื่อมโยงของแต่ละประเด็นหรือเอื้อให้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ และใน
          ประการที่สาม ซึ่งเป็นประเด็นที่ส�าคัญที่สุด คือ การที่ตราสารต่างๆ เหล่านี้เป็นตราสารทางการเมืองที่มิได้พัฒนาบนหลักการ

          สิทธิมนุษยชน (Human rights-based approach) แต่ตั้งอยู่บนหลักความมั่นคง (Security) ของภูมิภาค เช่น ปัญหา
          การก่อการร้าย  หรือหลักการทางสังคมและเศรษฐกิจ  เช่น  ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแรงงานข้ามชาติ  ซึ่งทิศทางนี้จะมีการ

          เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการตราปฏิญญาสิทธิ
          มนุษยชนอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ แล้ว ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป
                             ๒. ในบรรดาประเด็นตามตราสารสิทธิมนุษยชนหลักระหว่างประเทศ ๙ ฉบับ มีหลายประเด็นที่

          อาเซียนยังมิได้พัฒนาตราสารร่วมกันในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (Racial
          discrimination) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil & political rights) การต่อต้านการทรมาน (Prevention of
          torture) และการป้องกันบุคคลจากการสูญหายโดยบังคับ (Enforced disappearance) ซึ่งน่าจะมีสาเหตุหลักนอกเหนือจาก






                 44  การแบ่งแยกตามรายงานนี้เป็นการจัดท�าของผู้วิจัยเอง เพื่อให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชน

          ในแต่ละด้าน แต่โดยที่การนิยามหรือจัดประเภทสิทธิมนุษยชนแต่ละประเด็นมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกัน (Interconnectedness)
          ดังนั้นแม้จะได้แบ่งแยกตราสารออกเป็นสองกลุ่มโดยในกลุ่มที่สองตั้งชื่อว่าเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในด้านอื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็อาจพิจารณา
          ได้ว่า สามารถจัดประเภทตราสารในกลุ่มที่สองนี้อยู่ในหลายประเด็นของกลุ่มที่หนึ่งได้เช่นกัน เช่น ตราสารในประเด็นเอดส์/HIV ก็อาจถือ
          เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  หรือสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมได้เช่นกัน  เนื่องจากมีสาระเป็นเรื่องการ
          ไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) และการไม่ตีตรา (Non-stigmatization) นอกจากนั้น ในการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
          มิได้ด�าเนินการจากมุมมองของประเด็นที่ปรากฏในตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแต่อย่างใด  หากแต่พิจารณาจากความจ�าเป็นของ

          แต่ละประเด็นจากมุมมองร่วมกันและฉันทามติของประเทศสมาชิก



        58
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64