Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 51

กลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคยังไม่มีมาตรฐานในลักษณะเดียวกับการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ
          ซึ่งสหประชาชาติได้ส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ จัดตั้งขึ้นตามแนวทางหลักการปารีส (Paris Principles) โดยก�าหนด
                                               36
          องค์ประกอบและหลักการด�าเนินการพื้นฐานไว้  เช่น หลักความเป็นอิสระ และการท�าหน้าที่ในการตรวจสอบกรณีเกิดการ
          ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ในประชาคมอาเซียน องค์กรที่ถือว่าเป็นกลไกหลักในด้านสิทธิมนุษยชน คือ คณะกรรมาธิการ
          ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และมีคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรี
          และสิทธิเด็กท�าหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีและเด็กโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการ

          ตามปฏิญญาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติซึ่งท�าหน้าที่หลักในการพัฒนาตราสารว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
          ข้ามชาติโดยเฉพาะ ส่วนองค์กรที่ใช้ชื่อว่า คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women หรือ ACW)

          นั้นไม่รวมอยู่ในบริบทของการศึกษาในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นองค์กรที่ท�าหน้าที่ในการประสานงานด้านนโยบายเกี่ยวกับการ
          พัฒนาบทบาทของสตรีระหว่างประเทศสมาชิกและไม่มีอ�านาจหน้าที่โดยตรงในการคุ้มครอง (Protect) สิทธิสตรี 37



                       ๔.๒.๑ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental
          Commission on Human Rights)

                             คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Intergovernmental
          Commission on Human Rights: AICHR) ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อท�าหน้าที่ในด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง
          สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน โดยในปฏิญญาชะอ�า-หัวหินได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการ

          ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ก�าหนดให้ AICHR เป็นองค์กรหลัก (Overarching institution) ในด้านสิทธิมนุษยชน
                    38
          ของอาเซียน
                             AICHR  ได้ด�าเนินภารกิจในฐานะองค์กรหลักของอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นระยะเวลากว่า

          ๖  ปีจนถึงปัจจุบันและได้มีการพัฒนาบทบาทขององค์กรอย่างต่อเนื่อง  ความส�าเร็จหลักของคณะกรรมาธิการในช่วงที่
          ผ่านมา คือ การจัดท�าปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration: AHRD) ซึ่งเป็นเสมือน
          จุดเริ่มต้นของอาเซียนที่ได้มีเอกสารพื้นฐานที่แสดงเจตจ�านงร่วมกันเพื่อพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมและคุ้มครองด้านสิทธิ

          มนุษยชนในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยังประสบกับความท้าทายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขาดความ
          เข้าใจร่วมกันของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  กระบวนการตัดสินใจ  และข้อจ�ากัดในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่

          และการปฏิบัติหน้าที่  โดยในส่วนนี้จะวิเคราะห์ถึงขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมาธิการซึ่งจะเชื่อมโยงกับความท้าทายใน
          การด�าเนินการของ AICHR ที่จะกล่าวถึงในบทที่ ๕ ต่อไป
                             การจัดตั้ง AICHR เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน (มาตรา ๑๔) และแผนงาน

          การจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ส่วน A.1.5) ซึ่งระบุถึงการจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน




                 36  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human Rights Institutions) สืบค้นจาก http://www.ohchr.org/EN/Countries/
          NHRI/Pages/NHRIMain.aspx
                 37  แผนงานของคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women หรือ ACW) ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๑-๒๐๑๕

          โดยเป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๒ (๒๕๔๖) เพื่อแทนที่โครงการสตรีอาเซียน (ASEAN Women’s Programme) ซึ่งตั้งขึ้นในปี
          ค.ศ. ๑๙๘๑ สืบค้นจาก http://www.asean.org/storage/images/2012/publications/ACW%20Work%20Plan%202011-2015.pdf.
                 38  ย่อหน้า ๘ แห่งปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Declaration on the Intergovernmental Commission on

          Human Rights)


        50
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56