Page 53 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 53
จะท�าหน้าที่เป็นประธาน AICHR (ส�าหรับประเทศไทย จะท�าหน้าที่เป็นประธานอาเซียนและประธาน AICHR อีกครั้งในปี
พ.ศ. ๒๕๖๒ หลังประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑)
ในรูปแบบองค์กรกลุ่ม การพิจารณาของ AICHR จึงด�าเนินการโดยการประชุม ซึ่งเอกสารขอบเขต
อ�านาจหน้าที่ก�าหนดให้มีการประชุมปกติ (Regular meeting) อย่างน้อยปีละสองครั้ง ครั้งละไม่เกินห้าวัน โดยให้สลับ
สถานที่ประชุมระหว่างส�านักเลขาธิการอาเซียน และประเทศที่เป็นประธานอาเซียน และ AICHR อาจจัดการประชุมพิเศษ
(Special meeting) ได้ตามที่จะมีมติเห็นชอบร่วมกันซึ่งอาจจัดการประชุมที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนหรือตามที่ตกลงร่วมกัน
ก็ได้ นอกจากนั้น รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอาจก�าหนดให้มีการประชุม AICHR ได้ ลักษณะการท�างาน
ในรูปแบบการประชุมนี้ท�าให้มีข้อก�าหนดให้ผู้แทนใน AICHR ของแต่ละประเทศมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุม โดยหากเกิด
กรณีมีความจ�าเป็นท�าให้ไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้ รัฐบาลประเทศของผู้แทนจะต้องแต่งตั้งผู้แทนส�ารองเพื่อเข้าร่วมการ
ประชุมโดยผู้แทนส�ารองจะมีอ�านาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้แทนทุกประการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหน้าที่หลักของผู้แทนใน
AICHR คือการเข้าร่วมประชุม และการเป็นผู้แทนไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ประจ�า (และผู้แทนของแต่ละประเทศสามารถ
ท�างานประจ�าของแต่ละบุคคลควบคู่กับการด�ารงต�าแหน่งผู้แทน ซึ่งไม่มีค่าตอบแทนได้ โดยไม่ต้องประจ�าการที่ส�านัก
เลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจของหลายฝ่าย) แต่ก็มีภารกิจหลายประการที่เกิดขึ้น
ระหว่างการประชุม เช่น การประสานงานกับองค์กรภาคประชาสังคม การรับทราบปัญหาและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหรือ
จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค การเข้าร่วมประชุมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนที่
เกี่ยวข้อง นอกเหนือไปจากการเตรียมความพร้อมในการประชุมซึ่งในหลายกรณีท�าให้ต้องมีการจัดประชุมเตรียมการและ
รับฟังความคิดเห็นของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ย่อมขึ้นกับว่าผู้แทน AICHR แต่ละประเทศให้ความส�าคัญต่อภารกิจและการ
ด�าเนินการต่างๆ ข้างต้นมากน้อยเพียงใด
AICHR ถือเป็นองค์กรที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบครอบคลุมด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของอาเซียน (Overarching Human Rights Institution) ในที่นี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ในภารกิจของคณะกรรมาธิการอย่างชัดเจน เราสามารถแบ่งภารกิจของคณะกรรมาธิการได้เป็น ๒ ภารกิจหลัก ได้แก่
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๑. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
จากการพิจารณาเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ (TOR) ของ AICHR พบว่ามีภารกิจในหลายด้าน
ที่สะท้อนให้เห็นถึงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เช่น การพัฒนาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ข้อ ๔.๒) การส่งเสริม
ความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน (ข้อ ๔.๓) การเสริมสร้างขีดความความสามารถ (ข้อ ๔.๔) การส่งเสริมให้ประเทศ
สมาชิกอาเซียนลงนามในเครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (ข้อ ๔.๕) และการจัดท�างานวิจัยในประเด็นสิทธิ
มนุษยชนที่ส�าคัญ (ข้อ ๔.๑๒) บทบาทด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน
คณะกรรมาธิการมีการด�าเนินงานตามแผนงาน ๕ ปี (Five - Year Work Plan) โดยแผนงานดังกล่าวได้ก�าหนดภาระงาน
และกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการภายในระยะเวลา ๕ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ ภาระงานและกิจกรรม
ส่วนใหญ่เน้นหนักไปที่การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยในวาระของผู้แทนรุ่นที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) ได้มีภาระงาน
ส�าคัญที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามแผนงาน ๕ ปี เช่น
๑) การเผยแพร่ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรอง
ปฏิญญาอาเซียนซึ่งมีการรับรองในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ การเผยแพร่ตราสารทางการเมืองทั้งสองเป็นไปเพื่อ
เสริมสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน โดยคณะกรรมาธิการได้มีการแปลตราสารทางการเมือง
ดังกล่าวเป็นภาษาประจ�าชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและจัดท�าเป็นหนังสือเพื่อการเผยแพร่ต่อไป
52
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ