Page 58 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 58

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





            พ.ศ. ๒๕๕๕ ด้วยข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาดังกล่าว การวิเคราะห์ในบทนี้จึงแยกออกเป็นสามส่วนหลัก โดยส่วนแรก

            เป็นการวิเคราะห์ตราสารสิทธิมนุษยชนที่มีลักษณะเป็นพันธกรณีทางการเมืองซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจ�านวนมากที่สุด  ในส่วนที่สอง
            จะวิเคราะห์ตราสารที่สร้างพันธกรณีทางกฎหมาย และในส่วนสุดท้ายจะวิเคราะห์ข้อจ�ากัดในการจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชน

            ทั้งที่เป็นตราสารทางการเมืองและตราสารทางกฎหมาย


                         ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการวิเคราะห์  จ�าเป็นต้องสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของค�าที่ใช้ในการวิเคราะห์

                ได้แก่   ค�าว่า “พันธกรณี” และ “ตราสาร” โดยค�าว่า



                         • “พันธกรณี” หรือ Obligation หรือ Commitment สื่อถึงข้อผูกมัดหรือหน้าที่ซึ่งอาจเป็นข้อผูกมัด
                ที่ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย  (มีกลไกทางกฎหมายรองรับกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกมัดหรือหน้าที่
                ดังกล่าว) หรือทางการเมือง (ไม่มีกลไกหรือกระบวนการทางกฎหมายรองรับ แต่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือการ

                ตอบโต้ทางการเมืองกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกมัดหรือหน้าที่)





                         • ส่วนค�าว่า “ตราสาร” หรือ Instrument เป็นเอกสารที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีที่ร่วมจัด
                ท�าตราสาร ทั้งนี้ ตราสารอาจปรากฏได้ในหลายรูปแบบและใช้ชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น กฎบัตร อนุสัญญา
                ปฏิญญา ค�าประกาศ บันทึก มติ เป็นต้น โดยตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในทางระหว่างประเทศจะเรียกว่า

                “สนธิสัญญา” หรือ Treaty และมีหลักเกณฑ์ก�ากับในการจัดท�า แสดงเจตนาผูกพัน ตีความและบังคับใช้โดยเฉพาะ
                ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในหัวข้อ ๕.๒ ต่อไป





                     ๕.๑ ตราสารทางการเมือง



                         ดังที่ได้ระบุในตอนต้นของบทนี้แล้วว่า สาเหตุที่ต้องเริ่มการวิเคราะห์พันธกรณีของอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน
            จากกลุ่มตราสารที่แสดงเจตจ�านงทางการเมือง (Political instruments) ที่ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายเนื่องจาก

            ข้อเท็จจริงที่ว่า ตราสารในกลุ่มนี้มีจ�านวนมากกว่าตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายมาก นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับ
            ข้อเท็จจริงว่า การพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนมีที่มาจากการจัดท�าตราสารทางการเมืองที่น�าไปสู่การพัฒนา
            ตราสารทางกฎหมายในแต่ละเรื่อง  ทั้งนี้  ในการค้นคว้าข้อมูลตราสารสิทธิมนุษยชนในรายงานฉบับนี้จ�ากัดเฉพาะตราสาร

            ที่มีการประกาศหรือรับรอง (Adopt) โดยที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน (ASEAN Summit) เท่านั้น เนื่องจากมติของ
            ที่ประชุมผู้น�าถือเป็นเครื่องบ่งชี้เจตจ�านงทางการเมืองที่สามารถอ้างอิงได้ต่อประเทศสมาชิก โดยไม่รวมตราสารที่ประกาศ

                                                                                       43
            หรือรับรองโดยองค์กรอื่น ๆ เช่นที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (AMM)

                    43
                      ตราสารทางการเมืองในรูปแบบปฏิญญาที่ออกโดยองค์กรอื่นที่มิใช่ที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน โดยเฉพาะที่ประชุมรัฐมนตรี
            ว่าการกระทรวงการต่างประเทศหลายกรณีมีผลเป็นการสร้างกลไกและมาตรฐานที่น�าไปสู่การพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ในอาเซียนได้
            เช่นกัน เช่น ปฏิญญาว่าด้วยความก้าวหน้าของสตรีในภูมิภาคอาเซียน (Declaration of the Advancement of Women in the ASEAN
            Region) ซึ่งได้รับการรับรองในปี ค.ศ. ๑๙๘๘

                                                                                                              57
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63