Page 60 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 60
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
ประเด็นที่ว่ากลไกอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่งมีการพัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ อาจมาจากกรณีที่ว่าประเทศสมาชิกยังไม่
สามารถสร้างฉันทามติร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าว บางประเทศอาจพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหว (sensitive) และ
แม้แต่ในระดับประเทศก็ยังมิได้มีเจตจ�านงที่ชัดเจนในการเข้าร่วมเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศในประเด็นดังกล่าว ซึ่ง
ประเด็นนี้จะกล่าวถึงต่อไปในหัวข้อ ๕.๓)
๓. ประเด็นที่มีการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชน (ทางการเมือง) มากที่สุด คือ ประเด็นด้านเด็กและ
สตรี ซึ่งน่าจะเกิดจากสองประเด็น คือ ประเด็นด้านเด็กและสตรีถือเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวน้อยกว่าประเด็นอื่น และ
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศต่างได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัด
การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW)
๔. ตราสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่ได้รวบรวมไว้นี้ หลายฉบับได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในด้าน
สถานะหรือเนื้อหา โดยบางฉบับได้กลายเป็นตราสารที่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย เช่น ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้าน
การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะในสตรีและเด็ก (ASEAN Declaration against Trafficking in Persons Particularly Women
and Children) ซึ่งได้มีการพัฒนามาเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ซึ่งมี
45
สถานะเป็นสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย หรือได้มีการยกระดับจากการเป็นตราสารที่พัฒนาโดยองค์กรระดับ
รัฐมนตรีมาเป็นตราสารระดับภูมิภาคที่รับรองโดยที่ประชุมผู้น�าอาเซียน เช่น กรณีปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรง
ต่อสตรีและเด็กในอาเซียน ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมผู้น�าอาเซียนที่กรุงบันดาร์เสรีเบการ์วัน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มีที่มาจาก
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Declaration on the Elimination of
Violence against Women in the ASEAN Region) ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อาเซียน (AMM) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้น
ตารางที่ ๑ รายชื่อปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (เรียงตามปีที่รับรองโดยที่ประชุม
ผู้น�าอาเซียน)
รายชื่อปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (เรียงตามปีที่รับรองโดยที่ประชุมผู้น�าอาเซียน)
ปี ปฏิญญา
๒๕๔๓ ๑. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรม (ASEAN Declaration on Cultural Heritage)
๒๕๔๔ ๒. ปฏิญญาการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๗ ว่าด้วยเอดส์และเอชไอวี (7 ASEAN Summit
th
Declaration on HIV/AIDS)
๓. ปฏิญญาอาเซียนด้านการด�าเนินการร่วมกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Declaration
on Joint Action to Counter Terrorism)
๒๕๔๕ ๔. ปฏิญญาเกี่ยวกับการก่อการร้าย (Declaration on Terrorism)
45 แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังต้องรอการให้สัตยาบันโดยสมาชิกอาเซียน ๖ ประเทศตาม มาตรา 29 (a) แห่งอนุสัญญา
ดังกล่าว
59
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ