Page 57 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 57

ตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียน








                  บทที่ ๕ เป็นการวิเคราะห์ตราสารหรือพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของ

          รายงานฉบับนี้ โดยคณะผู้วิจัยใช้เอกสารที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนรวบรวมและเผยแพร่อย่างเป็นทางการทางเว็บไซต์ของ
                                41
                                                             42
          อาเซียน  (www.asean.org)   ซึ่งได้รวบรวมอยู่ในภาคผนวก  ๑   และเป็นเอกสารที่ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
          แห่งชาติก�าหนดให้เป็นเอกสารหลักในการวิเคราะห์ โดยจากการตรวจสอบและวิเคราะห์เอกสารดังกล่าวประกอบ
          ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องพบว่า พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally binding หรือ Hard
          law) มีอยู่อย่างจ�ากัด (รายละเอียดปรากฏในหัวข้อ ๕.๒) ซึ่งน่าจะมีสาเหตุสองประการ คือ ประการแรก การรวมตัวใน
          อาเซียนในช่วงที่มีการจัดท�าวิสัยทัศน์ฉบับแรก (ดูหัวข้อ ๖.๑) มีวัตถุประสงค์หลักในการขับเคลื่อนการรวมตัวด้านเศรษฐกิจ

          มิใช่ด้านสังคมหรือสิทธิมนุษยชน  ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏขึ้นก่อนการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนมีลักษณะเป็น
          ประเด็นที่เป็นผลลัพธ์หรือผลกระทบของการรวมตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นประเด็นหลัก และประการที่สอง
          กฎบัตรอาเซียนเพิ่งมีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังนั้น การพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

          จึงยังมีอยู่อย่างจ�ากัดแต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจ�านวนมากขึ้น  ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่มี
          อ�านาจหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น ยังพบว่าตราสารสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ของอาเซียนมี

          ลักษณะเป็นตราสารทางการเมือง (Political instruments) ซึ่งแสดงออกถึงเจตจ�านงทางการเมืองของประเทศสมาชิกใน
          การให้ความร่วมมือในประเด็นสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ และรวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดท�าตราสารทาง
          กฎหมายต่อไปโดยตราสารสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญที่สุด คือ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AHRD) ซึ่งถูกประกาศใช้ในปี




                 41    เอกสารเกี่ยวกับ Asian Legal Instrument, Association of Southeast Asian Unions สืบค้นจาก http://agreement.
          asean.org/
                 42  เอกสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนได้จัดท�าขึ้นใหม่แทนที่ข้อมูลเดิมที่ได้เคยประกาศไว้และส�านักงาน

          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใช้ในการประกาศขอบเขตงานจ้าง (TOR) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้รวมข้อมูลเดิมดังกล่าวในภาคผนวก ๒

        56
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62