Page 52 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 52
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสูงขององค์กรอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อท�าหน้าที่ยกร่างเอกสารขอบเขต
อ�านาจหน้าที่ (Terms of Reference) ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ
อาเซียน (ASEAN Foreign Ministers Meeting: AMM) ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ และต่อมาในการประชุมสุดยอด
อาเซียนครั้งที่ ๑๕ ที่ชะอ�า หัวหิน ประเทศไทย เดือนตุลาคมในปีเดียวกัน ผู้น�าอาเซียนได้ให้การรับรองปฏิญญาชะอ�า-
หัวหิน (Cha-am Hua Hin Declaration) ว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๘ ซึ่งรวมถึง
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง คณะกรรมาธิการจึงได้ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุมครั้งดังกล่าว ซึ่งถือเป็น
ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นประเทศที่ “ให้ก�าเนิด” ทั้งอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และ AICHR ซึ่งเป็นองค์กร
ด้านสิทธิมนุษยชนหลักของอาเซียน โดยเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ก�าหนดให้ AICHR ประกอบด้วยผู้แทนประเทศ
สมาชิกอาเซียนประเทศละหนึ่งคน รวมเป็นสิบคน ทั้งนี้ ส�าหรับต�าแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการ (Chairperson) คือ
ผู้แทนประเทศในคณะกรรมาธิการที่ท�าหน้าที่เป็นประธานอาเซียน โดยผู้แทนไทยคนแรก ได้แก่ ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี
ที่ได้ท�าหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนอีกด้วย
คณะกรรมาธิการชุดแรกนอกจากจะสามารถเจรจาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนแล้ว ยังได้จัดท�าเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการ
ขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของคณะกรรมาธิการที่ www.aichr.org
AICHR เป็นองคาพยพส่วนหนึ่งที่มีความส�าคัญต่อโครงสร้างประชาคมอาเซียน และถูกก�าหนด
สถานะให้เป็นหน่วยงานระหว่างรัฐบาล (Inter-governmental body) และเป็นหน่วยงานเพื่อการปรึกษาหารือ
(Consultative body) คณะกรรมาธิการมีส�านักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ท�าหน้าที่เป็น
ฝ่ายเลขานุการ และกระทรวงต่างประเทศของแต่ละประเทศเป็นผู้ประสานงานหลัก การสรรหาผู้แทนของคณะกรรมาธิการ
อาศัยกระบวนการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกในการสรรหาหรือแต่งตั้ง โดยส�าหรับประเทศไทยใช้วิธีการรับสมัคร
และพิจารณาวิสัยทัศน์ของผู้สมัครที่ได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติในเบื้องต้นแล้ว ผู้แทนของคณะกรรมาธิการมีระยะเวลา
ในการด�ารงต�าแหน่ง ๓ ปี และสามารถถูกแต่งตั้งให้ด�ารงต�าแหน่งในสมัยที่สองได้อีกเพียงหนึ่งครั้ง ผู้แทน AICHR ใน
วาระแรกด�ารงต�าแหน่งระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ ในวาระของผู้แทน AICHR รุ่นที่สองซึ่งด�ารงต�าแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ มีผู้แทน ๕ คนที่ได้รับการต่อวาระจากเป็นผู้แทนในสมัยแรก ได้แก่ ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
เมียนมาร์ และฟิลิปปินส์ และในปัจจุบันซึ่งเป็นวาระที่สามของ AICHR (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑) มีการเปลี่ยนแปลงผู้แทน
AICHR ถึง ๘ คน โดยมีเพียงผู้แทนประเทศลาวและไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ารงต�าแหน่งต่ออีกวาระหนึ่ง และเนื่องจาก
ประเทศลาวเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้แทนลาวจึงเป็นประธาน AICHR โดยต�าแหน่ง ส�าหรับค่าตอบแทน
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนเป็นประเด็นที่เอกสารขอบเขตหน้าที่ไม่ก�าหนดไว้ จึงเป็นดุลพินิจของแต่ละประเทศที่แต่งตั้ง
โดยในส่วนของประเทศไทยรัฐบาลไทยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางร่วมประชุม แต่ผู้แทนกรรมาธิการไม่ได้รับค่าตอบแทน
จากการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด
AICHR มีหลักการส�าคัญในการด�าเนินงาน คือ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกอื่น
(Principle of Non-Interference) โดยให้ความเคารพต่อเอกภาพ และอธิปไตยของประเทศสมาชิก และใช้หลักการในการ
ตัดสินใจโดยยึดหลักฉันทามติ (Principle of Consensus) ซึ่งต้องอาศัยความเห็นพ้องต้องกันของผู้แทนประเทศสมาชิก
ทั้ง ๑๐ ประเทศในการผ่านวาระหนึ่ง ๆ AICHR มีหน้าที่จัดท�ารายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รวมถึง
การได้รับการอนุมัติด้านงบประมาณในการใช้ท�ากิจกรรมต่าง ๆ และการแก้ไขเอกสารขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมาธิการด้วย
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประธานของ AICHR คือ ผู้แทนประเทศมาเลเซีย และจะเปลี่ยนประธานเป็นผู้แทนประเทศลาว ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๙ ส่วนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งจะเป็นปีที่ครบรอบห้าสิบปีของการจัดตั้งอาเซียน ผู้แทนของประเทศฟิลิปปินส์
51
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ