Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 25
แนวคิดและกลไกด้านสิทธิมนุษยชน
ระดับระหว่างประเทศและภูมิภาค
บทที่ ๒ มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์แนวคิดและพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ
ระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค โดยข้อมูลกลไกสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอื่นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการ
เปรียบเทียบกับพัฒนาการกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนซึ่งจะวิเคราะห์ในบทต่อไป
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาของอาเซียน โดยเฉพาะการเพิ่มพูน
ความมั่งคั่งของภูมิภาคผ่านการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมักถูกสะท้อนในประเด็น
เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ในขณะที่ประเด็นด้านอื่น ๆ มักถูกให้ความส�าคัญรองลงมา ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มักถูกมองข้ามทั้งที่ในความเป็นจริงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมีความส�าคัญต่อการเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนไม่น้อยกว่าประเด็นด้านเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชนเป็นเสมือนตัวประสานและเชื่อมโยงบุคคลที่มีความแตกต่าง
หลากหลายให้สามารถอยู่ร่วมกันภายใต้ประชาคมเดียวกันโดยการอาศัยการเคารพสิทธิของกันและกัน ทั้งการเคารพสิทธิ
ระหว่างบุคคลต่อบุคคล และการเคารพสิทธิของบุคคลโดยรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงรัฐที่เป็นประเทศสมาชิกของอาเซียนและ
ประชาคมอาเซียนเอง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธิมนุษยชนมีความส�าคัญอย่างยิ่งในฐานะพื้นฐานของการก่อตั้งและการ
ธ�ารงอยู่ของประชาคม
๒.๑ แนวความคิดสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน หรือสิทธิของความเป็นมนุษย์ เป็นแนวคิดที่ถูกน�ามาใช้อย่างแพร่หลายภายหลังการก่อตั้ง
องค์กรสหประชาชาติในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ กฎบัตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Charter) เป็นเสมือนพื้นฐานแรกสุด
ของการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ แม้ในกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter) มิได้
กล่าวถึงความหมายของสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่ได้มีการรวมเอาประเด็นดังกล่าวไว้ในบทบัญญัติของกฎบัตรหลายแห่ง
24
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ