Page 23 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 23
นอกจากนั้น ในบทที่ ๖ ยังได้วิเคราะห์ถึงความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนในประเด็นต่าง ๆ โดยเน้น
ความท้าทายของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนโดยเฉพาะ AICHR เนื่องจากเป็นกลไกหลักซึ่งความท้าทายหลักของประชาคม
อาเซียนเกิดจากโครงสร้างที่แบ่งออกเป็นสาม “เสาหลัก” ในขณะที่ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ
ทุกภาคส่วน ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ส�าคัญของอาเซียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง AICHR ในการประสานและเผยแพร่หลัก
สิทธิมนุษยชนให้สอดแทรกอยู่ในการท�างานของทุกภาคส่วน
บทที่ ๗ บทบาทของประเทศไทยในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
ในบทสุดท้ายของการศึกษา ได้จัดท�าข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในการผลักดันประเด็น
ด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยมีข้อพิจารณาที่ส�าคัญ คือ การที่ประเทศไทยจะท�าหน้าที่เป็นประธานอาเซียนอีกครั้งในปี
พ.ศ. ๒๕๖๒ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ อาเซียนจะฉลองครบรอบการจัดตั้ง ๕๐ ปี ค�าถาม คือ ประเทศไทยจะแสดงบทบาท
อย่างไรในห้วงเวลาดังกล่าว ซึ่งในการศึกษานี้ได้เสนอแนวทางด�าเนินการ ๒ แนวทาง ในแนวทางแรกเป็นบทบาทภายใน
ประเทศ และกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยประเทศไทยสามารถด�าเนินการได้สี่ประเด็น คือ การเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญา
ระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนและการอนุวัติการตามพันธกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กับประเทศสมาชิกอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน การให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านสิทธิมนุษยชน และการปรับ
โครงสร้างและเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ควรพิจารณาให้ความส�าคัญกับภารกิจ โดยอาจให้มี
กลไกด�าเนินการเฉพาะ โดยเฉพาะกรณีของ กสม. ที่ควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีภารกิจในด้านที่เกี่ยวกับอาเซียน
เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดนและการกระท�าที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ข้ามรัฐ เป็นต้น และแนวทาง
ที่สอง เป็นการแสดงบทบาทในระดับอาเซียนซึ่งมีสามแนวทางย่อย กล่าวคือ การผลักดันให้มีการปฏิรูปกลไกสิทธิมนุษยชน
อาเซียน การผลักดันสิทธิมนุษยชนให้เป็นแนวนโยบายและเป้าหมายของประชาคมอาเซียน (Mainstreaming of Human
Rights in the ASEAN Community) และการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชนส�าหรับอาเซียน
22
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ