Page 22 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 22
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกจ�านวน ๕ ฉบับ และหากจะชี้เฉพาะสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนโดยแท้ (กล่าวคือ
ตั้งอยู่บนหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ทรงสิทธิและ/หรือก�าหนดหน้าที่ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
มาตรการเยียวยา) จะมีเพียงฉบับเดียวที่เข้าข่าย คือ อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ที่เพิ่ง
มีการรับรองโดยที่ประชุมผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๒๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นตราสารที่
ส�านักเลขาธิการอาเซียนยังมิได้รวบรวมไว้ในรายชื่อตราสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ (เนื่องจากเพิ่งมีการรับรอง) นอกจาก
อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์ฯ แล้ว ตราสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่เหลือสามารถแยกออกได้เป็น
สองประเภท กล่าวคือ กลุ่มที่ก�าหนดเนื้อหามี ๔ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและ
อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการตอบสนองต่อภัยพิบัติ รวม ๓ ฉบับ (ข้อตกลงว่าด้วยการอนุรักษ์
ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ๒๕๒๘ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังมีจ�านวนประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันไม่ครบ
๖ ประเทศ ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลภาวะจากหมอกควันข้ามพรมแดน ๒๕๔๕ และข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการ
ภัยพิบัติและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ๒๕๔๘ ซึ่งสองฉบับหลังมีผลใช้บังคับแล้ว) และในกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตราสาร
ที่จัดตั้งองค์กรเพื่อท�าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีผลกระทบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมถึงข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ความ
หลากหลายทางชีวภาพอาเซียน และข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อการให้ความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ
บทที่ ๖ ทิศทางการพัฒนาและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
สิ่งที่ก�าหนดทิศทางการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนที่ส�าคัญ คือ วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕ ซึ่งผู้น�าอาเซียน
ได้รับรองในการประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๒๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ เพื่อใช้แทนที่
วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๑๕ โดยประเด็นที่ส�าคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจากการวิเคราะห์วิสัยทัศน์ฉบับใหม่ของอาเซียน ได้แก่
๑) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC ยังคงเป็นประชาคมที่ก�าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในด้าน
สิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาสามประชาคม และในวิสัยทัศน์ ๒๐๒๕ ยังได้เพิ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีกหลายประการ
ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิมนุษยชน เช่น การน�าหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการก�ากับการด�าเนินการของประชาคม
อาเซียนเพื่อประโยชน์ของประชาชน การก�าหนดให้หลักการความยั่งยืนเป็นหลักการส�าคัญของประชาคม และหลักการ
ภูมิคุ้มกัน หรือความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความเสี่ยงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่ปรากฏใน
วิสัยทัศน์ปี ๒๐๑๕
๒) ประชาคมเศรษฐกิจ หรือ AEC ก�าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ส�าคัญส�าหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนสองประการ
คือ ธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้สามารถขยายผลในทางปฏิบัติในการสร้างความร่วมมือ
ระหว่างประชาคมต่าง ๆ เพื่อจัดท�าโครงการหรือการด�าเนินการที่จะเสริมสร้างความตระหนักรู้หรือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ทั้งในระดับอาเซียนและประเทศสมาชิกได้ เช่น การจัดท�าโครงการหรือการศึกษาผลกระทบจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะการเชื่อมต่อในอาเซียน (ASEAN Connectivity) ต่อความยั่งยืนของธรรมชาติ หรือการส่งเสริมธรรมาภิบาล ซึ่ง
รวมถึงหลักการสิทธิมนุษยชนในภาคส่วนต่าง ๆ
๓) ส�าหรับประชาคมความมั่นคงและการเมือง หรือ APSC ก�าหนดวิสัยทัศน์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับที่ปรากฏ
ในวิสัยทัศน์ปี ๒๐๑๕ แต่ได้ก�าหนดรายละเอียดส�าหรับ AICHR เพิ่มเติมขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญ
21
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ