Page 20 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 20

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community








               บทที่ ๓        ประชาคมอาเซียน



                     ในบทที่ ๓ น�าเสนอภาพรวมความเป็นมาของประชาคมอาเซียนซึ่งก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐
            ที่ประเทศไทยโดยมีสมาชิกแรกเริ่ม ๕ ประเทศ และได้เพิ่มจ�านวนสมาชิกเป็น ๑๐ ประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ก้าวย่าง
            ส�าคัญของอาเซียนเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่ออาเซียนเริ่มการเป็นประชาคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยประกอบ

            ด้วยสามประชาคมย่อย คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
            ก้าวส�าคัญของอาเซียนที่ก�าลังมาถึง คือ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งอาเซียนจะครบรอบ ๕๐ ปีภายใต้การเป็นประธานของประเทศ
            ฟิลิปปินส์ การท�างานของอาเซียนมีองค์กรหลัก เช่น ที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน (ASEAN Summit) คณะมนตรีประสาน

            งานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Communities Councils) องค์กร
            ระดับกระทรวงรายสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร (Committee of
            Permanent  Representatives)  โดยมีส�านักเลขาธิการอาเซียนเป็นหน่วยงานเลขานุการสนับสนุนและประสานงานระหว่าง

            หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



               บทที่ ๔         แนวคิดและกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียน


                     ข้อมูลในบทที่ ๔ เชื่อมโยงกับบทที่ ๓ ที่ว่า แม้ประชาคมอาเซียนจะมิได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มใน

            การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในลักษณะเดียวกับองค์กรในภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกาและอาฟริกา
            ดังที่น�าเสนอไว้ในบทที่ ๒ แต่การที่กฎบัตรอาเซียนได้ก�าหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานและวัตถุประสงค์

            ของประชาคมอาเซียนท�าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประชาคมอาเซียนในด้านสิทธิมนุษยชน และนอกจาก
            ก�าหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นเป้าหมายของประชาคมแล้ว กฎบัตรอาเซียนยังก�าหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กร
            เพื่อท�าหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยตรง  ซึ่งน�าไปสู่การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนขึ้นในปี  พ.ศ.

            ๒๕๕๒ ได้แก่ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ซึ่งเริ่มก่อตั้งที่ประเทศไทยในครั้งที่
            ประเทศไทยท�าหน้าที่ประธานอาเซียน นอกจาก AICHR แล้ว อาเซียนยังจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้านอีกสอง
            หน่วยงาน  ได้แก่  คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก  (ACWC)  และคณะ

            กรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการตามปฏิญญาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (ACMW) โดยคณะ
            กรรมการชุดหลังมีหน้าที่ในการจัดท�าตราสารทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอาเซียน



               บทที่ ๕         ตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียน



                     เนื้อหาหลักของรายงานปรากฏในบทที่ ๕ โดยจากการส�ารวจตรวจสอบตราสารของอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
            พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการขององค์กรระดับภูมิภาคอื่น ๆ แล้วอาเซียนยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในการพัฒนาตราสาร
            เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยแยกพิจารณาเป็นประเด็นหลัก ๒ ประเด็น คือ ตราสารทางการเมือง และตราสารทางกฎหมาย

                     จากการตรวจสอบตราสารทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของอาเซียนพบว่า อาเซียนมีตราสารที่เกี่ยวข้อง
            กับประเด็นสิทธิมนุษยชนจ�านวน ๒๔ ฉบับ โดยมีข้อสังเกตดังนี้



                                                                                                              19
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25