Page 18 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 18
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะองค์กรที่มีอ�านาจหน้าที่ส�าคัญในการตรวจสอบและ
รายงานการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือกรณีที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่าง
ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้เล็งเห็นความส�าคัญของประเด็นดังกล่าว ประกอบกับความจ�าเป็นที่
ต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนในระดับอาเซียนซึ่งประเทศไทยอยู่ในข่ายต้อง
ปฏิบัติตามให้กับเจ้าหน้าที่ของทั้ง กสม. และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป จึงได้มอบหมายให้มูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) ซึ่งตระหนักถึงภารกิจของ กสม. และความส�าคัญของประเด็นดังกล่าว
จัดท�าการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑. เพื่อคัดเลือกและรวบรวมตราสารในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบของสนธิสัญญา ข้อตกลง
ปฏิญญา ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยเฉพาะที่มีผล
ผูกพันตามกฎหมาย (hard law) จากรายการที่ส�านักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๑๐ - ๒๕๕๕ และที่ได้มีการจัดท�าหรือรับรองขึ้นหลังจากนั้นจนถึงวันที่ท�าการศึกษาวิจัย (มีนาคม ๒๕๕๙)
๒. เพื่อจัดหมวดหมู่และสรุปสาระ/ประเด็นส�าคัญของตราสารตามที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๑ เพื่อให้ผู้อ่านได้
เข้าใจในภาพรวมของตราสารฉบับนั้นๆ
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาวิจัยนี้เน้นการศึกษาเจาะลึกตราสารต่าง ๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียนซึ่งเกี่ยวข้องและ/หรือ
เห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยมีขอบเขตการศึกษาวิจัยและการด�าเนินงาน ดังนี้
๑. ศึกษาตราสารต่างๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบสนธิสัญญา ข้อตกลง ปฏิญญา ซึ่งเกี่ยวข้อง
กับด้านสิทธิมนุษยชน และ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยเฉพาะที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
(Hard law) จากรายการที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๕๕ ซึ่งปรากฏรายการเอกสาร
ตามเว็บไซต์ http://www.asean.org/archive/document และที่ได้มีการจัดท�าหรือรับรองขึ้นหลังจากนั้น จนถึงวันที่
ท�าการศึกษาวิจัย (มีนาคม ๒๕๕๙) ซึ่งต่อมามีการขยายขอบเขตระยะเวลาจนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ เพื่อให้ครอบคลุม
ถึงระยะเวลาการประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๒๗ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ได้มีการรับรองเอกสาร
ส�าคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้หลายฉบับ เช่น วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕ และอนุสัญญาอาเซียนเพื่อต่อต้าน
การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นต้น
๒. ศึกษาตราสารที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อมของอาเซียน ที่ส�านัก
เลขาธิการอาเซียนได้ท�าการรวบรวมไว้ทางเว็บไซต์ http://agreement.asean.org/ รวมทั้งศึกษาปฏิญญา (Declarations)
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
๓. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในระหว่างการด�าเนินการศึกษาวิจัย เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ
ร่างรายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์จ�านวน ๒ ครั้ง (จากส�านักงาน กสม./หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง
และแก้ไขรายงานการศึกษาวิจัยให้มีความสมบูรณ์ก่อนการน�าส่งรายงานผลการศึกษาวิจัยในงวดสุดท้าย โดยกรอบการน�า
เสนอร่างรายงานต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาก่อน
๔. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลและผลการศึกษาที่ด�าเนินการตามขอบเขตการศึกษารวมทั้งข้อมูลและความรู้
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัย เพื่อการจัดท�ารายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์
17
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ