Page 19 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 19

๕. จัดเวทีร่วมกับส�านักงาน กสม. เพื่อให้ความรู้ผลการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคม

          อาเซียน ให้แก่เจ้าหน้าที่ส�านักงาน กสม. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการด�าเนินการตามข้อ ๔ เสร็จสิ้น
          แล้วจ�านวน ๒ ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมครั้งละ ๓๐ คน



                  แนวคิดในการศึกษา



                  ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารเป็นหลัก  เพื่อน�ามาคัดเลือกและเปรียบเทียบ
          รวมทั้งน�ามาจัดหมวดหมู่เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ส�านักงาน กสม. ก�าหนด ซึ่งเอกสารที่ใช้ประกอบการศึกษาวิจัย
          ครั้งนี้ ได้แก่

                  ๑) พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
                  ๒) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน
                  ๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  ตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา (TOR) กสม. มีความประสงค์ให้ที่ปรึกษาศึกษาตราสารต่าง ๆ ในกรอบความ
          ร่วมมือของอาเซียน จากรายการที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๕๕ โดยที่ปรึกษาได้

          ตรวจสอบกับส�านักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียแล้วพบว่า ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงตราสาร
          ที่เกี่ยวข้องให้เป็นหมวดหมู่ยิ่งขึ้น โดยมีการจัดกลุ่มสนธิสัญญา ข้อตกลง และปฏิญญา จากทั้งสิ้น ๓๕๙ ฉบับ กลายเป็น
          ชุดตราสารของอาเซียน (ASEAN Legal Instruments) จ�านวน ๘๑ กลุ่ม โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ในด้านที่เกี่ยวข้องตาม

          แต่ละประชาคม กล่าวคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)
          จ�านวน ๑๔ กลุ่ม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) จ�านวน ๕๙ กลุ่ม และประชาคม

          สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) จ�านวน ๘ กลุ่ม และที่ปรึกษาได้ท�าการ
          ศึกษาตราสารทั้ง ๒ ส่วนเพื่อให้ครอบคลุมขอบเขตการศึกษาตามที่ได้ก�าหนดไว้ จากผลการตรวจสอบและวิจัยข้อมูลที่
          เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปที่ส�าคัญของแต่ละบทที่ได้วางโครงสร้างไว้ ดังนี้



              บทที่ ๒       แนวคิดและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและภูมิภาค



                  มาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญมีพัฒนาการจากองค์การสหประชาชาติที่ได้จัดตั้งคณะมนตรี
          สิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการจัดตั้งกลไกเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
          รวมถึงกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) การพิจารณาข้อร้องเรียน (Communications procedure)

          และกระบวนการพิเศษ (Special procedure) เพื่อพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศ หรือตามประเด็น
          สิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง นอกจากนั้น ในด้านตราสารสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วย

          สิทธิมนุษยชนในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ องค์การสหประชาชาติก็ได้จัดท�าอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นตราสารที่มีผลผูกพัน
          ทางกฎหมายถึง ๙ ฉบับในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสตรี เด็ก คนพิการและการสูญหายโดยถูกบังคับ เป็นต้น นอกจากนั้น
          ในภูมิภาคอื่นของโลกทั้งในยุโรป  อเมริกาและอาฟริกา  ก็ได้มีการจัดตั้งองค์กรและตราสารด้านสิทธิมนุษยชนเช่นกัน  ซึ่ง

          จากการเปรียบเทียบท�าให้เห็นได้ว่าภูมิภาคอาเซียนถือเป็นภูมิภาคล่าสุดที่มีการสร้างกลไกสิทธิมนุษยชนและจัดท�า
          ตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยถือเป็นขั้นเริ่มต้น



        18
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24