Page 17 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 17

บทน�า





                  สิทธิมนุษยชนนับเป็นหลักการส�าคัญในการค�านึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมโดยไม่มีการเลือก

          ปฏิบัติ และยังเป็นหลักประกันการแสดงออกทางความคิด สิทธิและเสรีภาพต่าง ๆ นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนยังมีความ
          ส�าคัญในการสร้างสังคมและการด�าเนินนโยบายทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ประชาคมโลกเริ่มให้ความสนใจ
          ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายหลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยองค์การสหประชาชาติ (United

          Nations) ได้ประกาศ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR)”
          ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการก�าหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเอกสารฉบับ
          ดังกล่าวเป็นหลักการส�าคัญในการจัดท�าพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลายภูมิภาคทั่วโลก

                  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ได้ค�านึงถึงความส�าคัญของสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน จึงได้มีการจัดท�า
          กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights

          Declaration) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่มีการระบุถึงการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอันเป็นไปตามหลักการของ UDHR
          เช่นกัน ตลอดจนการจัดให้มีกลไกที่ท�าหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนและประสานความร่วมมือประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
          ในภูมิภาค เช่น คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission

          on Human Rights: AICHR) และคณะกรรมาธิการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก (ASEAN Commission
          on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) เป็นต้น

                  การจัดตั้งประชาคมภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลากหลาย
          ด้าน สิทธิมนุษยชนก็เป็นด้านหนึ่งที่อาเซียนและสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศจ�าเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อ
          รองรับต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันน�าไปสู่ปัญหา

          ด้านสิทธิมนุษยชน  ดังนั้น  ประเทศไทยควรต้องเตรียมความพร้อมโดยการสร้างความเข้าใจต่อกรอบความร่วมมือด้าน
          สิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับผลกระทบจากความหลากหลายของเชื้อชาติภายหลังการเปิดเสรีในด้านต่าง ๆ ภายใต้
          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาครัฐซึ่งมีภาระหน้าที่โดยตรงด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน



        16
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22