Page 50 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 50

ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
                                                                    เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน





                         ๒.๑.๒.๒ ปฏิญญาริโอ

                                  ปฏิญญาริโอเป็นปฏิญญาสากลที่พัฒนาสืบเนื่องต่อมาจากปฏิญญาสตอกโฮล์ม ประเด็นหลัก
            ของปฏิญญาริโอเป็นเรื่องแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

            และสิ่งแวดล้อมยังคงได้มีการกล่าวถึงใน Principle 1 โดยเป็นการเชื่อมโยงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
            การพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ Principle 1 มีใจความว่า “มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน มนุษย์มีสิทธิในการ
            มีชีวิตที่ดีโดยสอดคล้องกับธรรมชาติ”  (Human  beings  are  at  the  centre  of  concerns  for  sustainable

            development. They are entitled to a healthy and productive life in harmony with nature.) จากถ้อยค�าของ
            Principle 1 เห็นได้ว่าปฏิญญาริโอมิได้มีการรับรองหรือกล่าวถึงสิทธิของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมไว้โดยชัดแจ้งแต่อย่างใด
            เพียงแต่เป็นการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์และ “ธรรมชาติ” (Principle 1 ของปฏิญญาริโอ

            ใช้ค�าว่า “Nature” แตกต่างจากปฏิญญาสตอกโฮล์มที่ใช้ค�าว่า “Environment”)
                                  อนึ่ง นอกจากปฏิญญาริโอจะเชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว Principle 3
            ยังได้ตระหนักถึงสิทธิของชนรุ่นหลังเช่นกัน โดยมีใจความว่าการพัฒนาจะต้องค�านึงถึงความต้องการทางการพัฒนา

            และความต้องการทางสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในยุคปัจจุบันและชนรุ่นหลังด้วย (The right to development must be
            fulfilled so as to equitably meet developmental and environmental needs of present and future

            generations.)
                                  จากการพิจารณาถ้อยค�าและใจความของปฏิญญาริโอข้างต้นเห็นได้ว่า สิทธิในสิ่งแวดล้อมยัง
            ไม่ได้มีพัฒนาการขึ้นจากปฏิญญาสตอกโฮล์มมากนัก ดังจะเห็นได้จากการที่ปฏิญญาริโอมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิในสิ่งแวดล้อม

            ไม่แตกต่างจากปฏิญญาสตอกโฮล์ม กล่าวคือ ยังไม่มีการรับรองถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อมไว้โดยตรง แต่เป็นการตระหนักถึง
            ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและสิทธิในการมีชีวิตของมนุษย์ ตลอดจนมีการค�านึงถึงสิทธิของชนรุ่นหลังในสิ่งแวดล้อม

                                  อย่างไรก็ดี แม้สิทธิในสิ่งแวดล้อมอันเป็นสิทธิเชิงเนื้อหายังไม่ได้รับการรับรองเป็นการเฉพาะ แต่
            ปฏิญญาริโอได้มีการกล่าวถึงสิทธิเชิงกระบวนการไว้อย่างชัดเจนมาก โดย Principle 10 ได้มีการกล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึง
            ข้อมูลข่าวสาร (Right to Access to Information) สิทธิในการมีส่วนร่วมของสาธารณะในกระบวนการตัดสินใจด้าน

            สิ่งแวดล้อม (Right to Public Participation in Decision-Making) และสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
            (Right to Environmental Justice)
                                  ทั้งนี้ แม้สิทธิเชิงกระบวนการจะเป็นสิทธิคนละประเภทกับสิทธิเชิงเนื้อหา แต่สิทธิเชิงกระบวนการ

            ก็เป็นเครื่องมือส�าคัญในการขับเคลื่อนเพื่อน�าไปสู่สิทธิเชิงเนื้อหา การที่ปฏิญญาริโอได้มีการกล่าวถึงสิทธิเชิงกระบวนการ
            ไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในระดับสากลของสิทธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสิทธิเชิงกระบวนการเหล่านี้
            ยังมีลักษณะเดียวกันกับสิทธิมนุษยชนเชิงกระบวนการด้วย

                                  นอกจากนี้  ประเด็นของสิทธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ปฏิญญาริโอได้มีเพิ่มเติมขึ้นมาจากปฏิญญา
            สตอกโฮล์ม ได้แก่ สิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการจัดการและพัฒนาสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ถูกกล่าวถึงใน Principle

            22 อันแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชนพื้นเมืองและธรรมชาติ ทั้งยังตระหนักถึงความส�าคัญ
            ของภูมิปัญญาและธรรมเนียมปฏิบัติของชนพื้นเมืองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วย











                                                           49
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55