Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 46
ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓) พันธกรณีของรัฐภาคีที่จะด�าเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมตามล�าดับขั้น
นับตั้งแต่การเคารพ คุ้มครอง ส่งเสริม และท�าให้เป็นจริงอย่างเต็มที่ตามทรัพยากรที่
มีอยู่เพื่อให้มีความคืบหน้า โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษ
และสตรีในการได้รับสิทธิ การจ�ากัดสิทธิตามกติกา รวมทั้งการห้ามตีความใด ๆ ใน
กติกาที่จะท�าลายสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รับรองไว้ในกติกานี้
๔) สาระของสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการท�างานและมีเงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม
สิทธิที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะหยุดงาน สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการและ
การประกันด้านสังคม การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว สิทธิที่จะมีมาตรฐานชีวิต
ที่ดีพอเพียง สิทธิที่จะมีสุขภาวะด้านกายและใจที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ สิทธิในการศึกษา
สิทธิในวัฒนธรรมและประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
๕) พันธกรณีในการจัดท�ารายงานของรัฐภาคี บทบาทของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีร่วมกับกลไกอื่น ๆ ของสหประชาชาติ
รวมทั้งการให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีของกติกา การ
ด�าเนินการของรัฐภาคีที่จะร่วมมือในระดับระหว่างประเทศในการส่งเสริมสิทธิตาม
กติกา การห้ามการตีความบทบัญญัติเพื่อจ�ากัดหน้าที่ของกลไกสหประชาชาติที่
ก�าหนดไว้ตามกฎบัตรและธรรมนูญขององค์กร รวมทั้งการไม่ตีความในทางที่จะ
จ�ากัดสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
จ. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
(Convention on the Elimination of All Forms of Racial
Discrimination - CERD)
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบประกอบด้วย
วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ ๒๕ ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ส่วนส�าคัญ ดังนี้
๑) ค�าจ�ากัดความต่าง ๆ เช่น “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” หมายถึงการจ�าแนก
การกีดกัน การจ�ากัด หรือการเอื้ออ�านวยพิเศษ เพราะเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย
หรือชาติก�าเนิด หรือเผ่าพันธุ์ โดยไม่รวมถึงการปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างบุคคล
ที่เป็นพลเมืองและไม่ใช่พลเมือง นโยบายของรัฐภาคีและการด�าเนินมาตรการ
เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เช่น การห้ามการโฆษณา
ชวนเชื่อ การประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย ทั้งในด้าน
สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การ
เยียวยาเมื่อถูกละเมิด การให้ความส�าคัญด้านมาตรการในการศึกษา วัฒนธรรม
และข้อมูลเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
๒) คณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการจัดท�ารายงานของ
รัฐภาคี การปฏิบัติงานและการรับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการ
45