Page 49 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 49

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





               ๒.๑.๒ ตราสาร Soft Law ระหว่างประเทศที่วางหลักการสากลกว้างๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง

          มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
                       ในระดับกติกาสากลระหว่างประเทศนั้น  พัฒนาการของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นจากตราสาร  Soft

          Law ระหว่างประเทศโดยเริ่มมีพัฒนาการที่เด่นชัดเมื่อมีการจัดท�าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. ๑๙๗๒
          (The Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment 1972) ณ กรุงสตอกโฮล์ม
          (ปฏิญญาสตอกโฮล์ม)  ซึ่งได้กล่าวถึงความส�าคัญของสิ่งแวดล้อมและสิทธิของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก  และในอีก

          ๒๐ ปีต่อมา จึงเกิดมีปฏิญญาสากลอีกฉบับที่วางหลักการเกี่ยวกับการจัดการและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ปฏิญญา
          สากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ. ๑๙๙๒ (Rio Declaration on Environment and Development 1992)

          ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร (ปฏิญญาริโอ) ปฏิญญาสากลทั้งสองฉบับนี้ได้วางกรอบแนวคิดส�าคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
          และเป็นปฏิญญาตั้งต้นอันน�ามาซึ่งพัฒนาการในการคุ้มครองหรือจัดการสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายระหว่างประเทศในเวลา
          ต่อมา

                       การพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในตราสาร Soft Law ระหว่างประเทศจึงสามารถ
          พิจารณาแยกตามปฏิญญาได้ดังต่อไปนี้



                       ๒.๑.๒.๑ ปฏิญญาสตอกโฮล์ม
                               ปฏิญญาสตอกโฮล์มเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมฉบับแรกที่ได้มีการกล่าวถึงสิทธิของ

          มนุษย์ในสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยปรากฏใน Principle 1 ซึ่งมีใจความว่า “มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน
          และคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ” (Man has the fundamental right to freedom, equality
          and adequate conditions of life, in an environment of a quality that permits a life of dignity and well-

          being…)
                               ถ้อยค�าใน Principle 1 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในความสัมพันธ์
          ระหว่างชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์กับคุณภาพของสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี “สิทธิ” ที่ได้ถูกกล่าวถึงใน Principle 1 ได้แก่

          สิทธิในเสรีภาพ  ความเท่าเทียมกัน  และคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยไม่ได้มีการรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อมไว้เป็นการเฉพาะ  แต่
          เป็นการตระหนักว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีมีความส�าคัญและจ�าเป็นต่อการใช้สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ดังกล่าว 22

                               นอกเหนือจากการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์แล้ว ปฏิญญา
          สตอกโฮล์มยังได้กล่าวถึงสิทธิของชนรุ่นหลังในทรัพยากรธรรมชาติไว้ด้วย โดย Principle 2 ของปฏิญญาสตอกโฮล์ม
          ก�าหนดให้ต้องมีการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ในปัจจุบันและชนรุ่นหลังในอนาคต

          (“The natural resources of the earth, …, must be safeguarded for the benefit of present and future
          generations…”)

                               ถ้อยค�าเนื้อความจาก Principle 1 และ Principle 2 ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าปฏิญญาสตอกโฮล์ม
          มีการตระหนักและรับรองถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ปฏิญญาสตอกโฮล์ม
          ยังไม่ได้จ�ากัดความส�าคัญของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ในปัจจุบันเท่านั้น  แต่ยังได้ค�านึงถึงสิทธิของชนรุ่นหลังด้วย  อย่างไรก็ดี

          ปฏิญญาสตอกโฮล์มยังไม่มีการรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อม (Right to Environment) ไว้อย่างชัดเจน



                 22
                    lbid.


                                                           48
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54