Page 48 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 48

ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
                                                                    เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน








            ได้แก่  สิทธิเชิงกระบวนการ  เช่น  เสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร  (Freedom  of  Information)  สิทธิในการมีส่วนร่วมใน
                                                                                        16
            กระบวนการตัดสินใจ (Right to Participate in the Decision-Making Process) เป็นต้น  ส�าหรับสิทธิเชิงเนื้อหา จะ
            เป็นการก�าหนดเนื้อหาของสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ตัวอย่างของสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิเชิงเนื้อหา เช่น สิทธิในการมี
            ชีวิต (Right to Life) สิทธิในสุขภาพ (Right to Health) สิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) เป็นต้น ทั้งนี้ แม้สิทธิ

            เชิงเนื้อหาและสิทธิเชิงกระบวนการจะเป็นสิทธิต่างประเภทกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยสิทธิเชิงกระบวนการ
            เป็นพาหนะขับเคลื่อนเพื่อน�าไปสู่การคุ้มครองสิทธิเชิงเนื้อหา
                                   สิทธิในสิ่งแวดล้อม (Right to Environment) มีลักษณะเป็นสิทธิเชิงเนื้อหา กล่าวคือ เป็นการ

            ก�าหนดหน้าที่แก่รัฐในการที่จะต้องคุ้มครองประชาชนให้ได้มีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี  และต้องมีการเยียวยาให้แก่ประชาชน
                                                                           17
            ต่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการที่รัฐละเลยหน้าที่ดังกล่าวนั้น  โดยลักษณะของสิทธิในสิ่งแวดล้อมจะเป็น
            การคุ้มครองประชาชนทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน (Individual) เช่นเดียวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และในลักษณะ

                                  18
            ที่เป็นกลุ่ม  (Collective)   ในปัจจุบันได้มีการเชื่อมโยงประเด็นการท�าลายสิ่งแวดล้อมเข้ากับประเด็นการละเมิดสิทธิ
            มนุษยชนต่าง  ๆ  เช่น  สิทธิในการมีชีวิต  หรือสิทธิในสุขภาพ  โดยมีนักวิชาการ  ตลอดจนองค์คณะซึ่งพิจารณาข้อพิพาท

            ระหว่างประเทศจ�านวนหนึ่งมองว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขส�าคัญประการหนึ่งของการมีชีวิตที่ดีและการมีสุขภาพที่ดีของ
            มนุษย์ รัฐจึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 19
                                   แม้จะมีการเชื่อมโยงการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเข้ากับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการอ้างอิง

            ผ่านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีการถกเถียงในทางวิชาการถึงการเกิดขึ้นของสิทธิในสิ่งแวดล้อมซึ่งมีสถานะเป็น
                                 20
            สิทธิมนุษยชนโดยเอกเทศ   กล่าวคือ  หากในปัจจุบันมีการยอมรับหรือรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อม  จะท�าให้เมื่อประชาชน
            ได้รับความเสียหายจากการที่สิ่งแวดล้อมถูกท�าลายหรือถูกท�าให้เสื่อมโทรมลง  ผู้เสียหายสามารถกล่าวอ้างว่ามีการละเมิด
            สิทธิมนุษยชนได้โดยตรง  โดยไม่จ�าต้องอาศัยการอ้างอิงว่าการท�าลายสิ่งแวดล้อมนั้นกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิต  สิทธิใน
            สุขภาพ หรือสิทธิมนุษยชนประเภทอื่น เพราะการละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในตัวเองแล้ว 21







                    16   From “The Right to a Healthy Iife or the Right to Die Polluted?: The Emergence of a Human Right to a

            Healthy Environment Under International Law”, by Sumudu Atapattu (2002) Tul. Envtl. L.J., 16, 65, pp 72.
                    17   From “The Human Right to a Healthy Environment: An International Legal Perspective”, by J.T. McClymonds,
            1992  N. Y. L. Sch. L. Rev. 37 ,pp 583.
                    18   From “Stephen P. Marks, Emerging Human Rights: A New Generation for the 1980s” by Stephen P. Marks,
            1981, Rutgers L. Rev. 33, pp 435.
                    19   From Human Rights and Environment: Substantive Rights (pp 265) by Dinah Shelton: RESEARCH HANDBOOK

            ON INTERNATIONAL ENVIRONMENTAL LAW Malgosia Fitzmaurice, David M. Ong, Panos Merkouris 2010 Massachusetts :
            Edward Elgar Publishing Inc. Please also see Oneryildiz v. Turkey, 39 Eur. H.R. Rep. 12 (2004).
                    20   From “Human Rights, Environmental Rights, and the Right to Environment” by Dinah Shelton 1991, Stan.

            J. Int’l L., 28, 103, 1991-1992, p 121.
                    21   From “The Right to a Healthy Ife or the Right to Die Polluted ?: The Emergence of a Human Right to a
            Healthy Environment under International Law”, by Sumudu Atapattu (2002) Tul. Envtl. L.J., 16, 65, pp 73.


                                                           47
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53