Page 47 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 47
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
ฉ. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and
Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment
- CAT)
อนุสัญญาฉบับนี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระงับและยับยั้งการทรมาน โดยใน
เนื้อหาของอนุสัญญาดังกล่าวได้ก�าหนดความหมายของการทรมาน ว่าหมายถึง การกระท�าใดก็ตามโดยเจตนาที่ท�าให้เกิด
ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายภาพหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความมุ่ง
ประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสนเทศหรือค�าสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้นส�าหรับการกระท�า
ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระท�า หรือถูกสงสัยว่าได้กระท�า รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งเน้นไปที่การกระท�า
หรือโดยความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในต�าแหน่งทางการ
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี ประกอบด้วยวรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ ๓๓ ข้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้
(ข้อบทที่ ๑-๑๖) ก�าหนดเกี่ยวกับค�านิยามของ “การทรมาน” บทบัญญัติว่าด้วยการ
ก�าหนดให้การทรมานเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา เขตอ�านาจที่เป็นสากลเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับ
การทรมาน และหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(ข้อบทที่ ๑๗-๒๔) ก�าหนดเกี่ยวกับการน�าบทบัญญัติไปใช้โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ
ต่อต้านการทรมานซึ่งเป็นองค์กรก�ากับดูแล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระ จ�านวน ๑๐ คน ที่แต่งตั้งโดยภาคีสมาชิก
และปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสามารถ ค�าร้องเรียนระหว่างรัฐ ค�าร้องเรียนของปัจเจกบุคคล อ�านาจ
คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน
(ข้อบทที่ ๒๕-๓๓) ก�าหนดเกี่ยวกับกระบวนการเข้าเป็นภาคี ผลใช้บังคับการแก้ไข
อนุสัญญา โดยเฉพาะข้อสงวน การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของอนุสัญญาและการระงับข้อพิพาท
ช. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons
with Disabilities - CRPD)
อนุสัญญาฉบับนี้เน้นไปที่การขจัดอุปสรรคจากภายนอก ซึ่งเป็นสาเหตุส�าคัญของความ
ยากล�าบากในการด�าเนินชีวิตของผู้พิการ ตลอดจนการแก้ไขความเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการ ซึ่งก่อให้เกิดการ
เลือกปฏิบัติ และขัดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างยิ่ง
๒.๑.๑.๒ ความเข้าใจค�าว่า “สิทธิในสิ่งแวดล้อม”
ในการเข้าใจค�าว่า “สิทธิในสิ่งแวดล้อม” (Right to Environment) จ�าต้องค�านึงถึงประเภท
ของ “สิทธิ” ทั้งสองประเภท อันได้แก่ สิทธิเชิงเนื้อหา (Substantive Rights) และสิทธิเชิงกระบวนการ (Procedural
Rights) สิทธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ที่พบในกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
46