Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 43
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
(๔) หน้าที่ต่อผู้ทรงสิทธิมนุษยชนเป็นของใคร
ตามทฤษฎีของกฎหมายเมื่อกฎหมายให้ผู้ใดมีสิทธิ (Rights) ย่อมก่อให้เกิดหน้าที่ตามมา
(Duties) พร้อมกับสิทธินั้น ๆ ค�าถามก็คือว่า เมื่อก�าหนดให้กลุ่มของประชาชนมีสิทธิมนุษยชนเชิงกลุ่ม ใครจะเป็นผู้มีหน้าที่
ในการคุ้มครองสิทธิ หากกลุ่มผู้ทรงสิทธิเป็นรัฐหรือเป็นประเทศทั้งประเทศที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเชิงกลุ่ม ใครจะเป็น
ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศนั้น ๆ ซึ่งโดยปกติหากบุคคลคนใดเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของตน
รัฐที่ผู้นั้นสังกัดมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครอง แต่หากกลุ่มคนในประเทศนั้น ๆ เป็นผู้ทรงสิทธิทั้งประเทศ รัฐใดจะต้องให้
ความคุ้มครองในเมื่อรัฐทุกรัฐต่างมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีรัฐใดอยู่เหนือรัฐใด แม้องค์การระหว่างประเทศอย่างเช่น องค์การ
สหประชาชาติก็มิได้เป็นองค์การที่อยู่เหนือรัฐอื่น ๆ หากประเทศก�าลังพัฒนาเรียกให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความคุ้มครอง
สิทธิในการพัฒนาของตนก็เท่ากับว่า ประเทศก�าลังพัฒนายอมรับว่าประเทศพัฒนามีอ�านาจเหนือตนแล้วหรือไม่ และจะ
น�าไปสู่หลักการใหม่ที่ว่าผู้ที่พัฒนากว่าย่อมต้องคุ้มครองผู้ด้อยพัฒนากว่าตนหรือไม่ และหลักการนี้จะต้องพัฒนามาเป็น
หลักการตามกฎหมายภายในที่จะก�าหนดให้ประชาชนผู้พัฒนามากกว่าเป็นผู้รับผิดชอบคุ้มครองประชาชนผู้พัฒนา
ด้อยกว่าด้วยหรือไม่ ปัญหาเหล่านี้ยังคงเป็นปัญหาต่อไปยังไม่มีที่สิ้นสุดในการใช้สิทธิมนุษยชนเชิงกลุ่มของสิทธิมนุษยชน
ช่วงที่สามนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศที่ยังเป็นที่โต้แย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างประเทศ
พัฒนาแล้วกับประเทศพัฒนาน้อย อย่างในทวีปแอฟริกา จึงท�าให้หลักเกณฑ์ทางวิชาการถูกบิดเบือนไปตามการเมือง
ระหว่างประเทศ
ส�าหรับประเทศไทย การยอมรับสิทธิมนุษยชนในช่วงที่สามมาใช้ปฏิบัติในฐานะสิทธิ
มนุษยชนอย่างเต็มรูปนั้น อาจมีส่วนดีในแง่ของการคุ้มครองสิทธิเหล่านั้นให้กลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มหรือของ
ปัจเจกบุคคลที่อยู่เหนือกว่ากฎหมายระดับพระราชบัญญัติ และให้ศักดิ์ทางกฎหมายเทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญของ
ประเทศไทย ดังนั้น กฎหมายใด ๆ ที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนในช่วงที่สามย่อมต้องถูกลบล้างหรือยกเลิกเพิกถอนออกไป แต่
ส่วนเสียก็มีอยู่มากโดยเฉพาะสิทธิในสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิทธิที่กระทบกับสิทธิอื่น ๆ ที่อยู่ข้างเคียงและมีส่วนสัมพันธ์กับสิทธิ
ทางแพ่ง เช่น สิทธิในความเป็นเจ้าของ สิทธิครอบครองและใช้สอยทรัพย์ ฯลฯ ผลที่เกิดขึ้นหากมีบุคคลหรือกลุ่มใดๆ
อ้างต่อรัฐเพื่อให้คุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมให้ตนหรือกลุ่มอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ย่อมหมายความว่า หากค�าว่าสิ่งแวดล้อม
ที่ดีถูกตีความให้มีมาตรฐานการคุ้มครองที่สูงมากแล้ว รัฐย่อมมีค่าใช้จ่ายจ�านวนมากในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้
กลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี และการรักษาสมดุลระหว่างระบบเศรษฐกิจของรัฐหรือผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของสาธารณะ
กับสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมต้องถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากค�านิยามต่าง ๆ
เกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิในสิทธิมนุษยชนก็ดี หรือหน้าที่ต่าง ๆ ตามสิทธิก็ดี อาจต้องมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ค�าถาม
ก็คือ ประเทศไทยมีความพร้อมแล้วหรือไม่ในการน�าสิทธิในช่วงที่สามมาคุ้มครองปัจเจกบุคคลภายในประเทศ อย่างไรก็ดี
การจะคุ้มครองสิทธิใดในฐานะสิทธิมนุษยชนนั้นควรจะต้องพิจารณาสังคมระหว่างประเทศด้วย เพราะสิทธิมนุษยชน
ต้องมีความเป็นสากล หากสิทธิที่จะคุ้มครองไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นสิทธิมนุษยชนในระดับสากล แต่น�ามาบัญญัติโดย
รัฐธรรมนูญไทย สิทธิดังกล่าวอาจมีสถานะเป็นเพียงสิทธิตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ใช่สิทธิมนุษยชนที่นานาชาติต้องให้
ความเคารพ ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยให้ความคุ้มครองสิทธิมากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับถ้อยค�าที่บัญญัติว่า
จะคุ้มครองเฉพาะคนไทยหรือต่างชาติด้วย หากคุ้มครองต่างชาติด้วยก็อาจกลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญได้
42