Page 79 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 79
กรอบการท�า HRDD 7
ขอบเขตและขีดจ�ากัดของความรับผิดชอบ
ในการแก้ไขปัญหาของบริษัท
เมื่อใดที่บริษัทสร้างผลกระทบหรือมีส่วนสร้างผลกระทบ บริษัทก็มีความรับผิดชอบที่จะหยุดการมีส่วนร่วม แก้ไข
ปัญหาหรือมีส่วนร่วมในการแก้ไข ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการศาลหรือกระบวนการอื่นๆ นอกเหนือจากกระบวนการ
ทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับว่า “ชอบธรรม” ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการที่เป็นธรรมและเป็นอิสระ มีความรับผิด
และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ กลไกเยียวยาอาจทำาผ่าน “กลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับ
ปฏิบัติการ” ของบริษัทเอง (ดูรายละเอียดได้ในหัวถัดไป)
บริษัทไม่จำาเป็นจะต้องแก้ไขกรณีต่อไปนี้
• ผลกระทบที่บริษัทไม่ได้ก่อ และไม่มีส่วนก่อ กรณีนี้ความรับผิดชอบเป็นของผู้ที่ก่อหรือมีส่วน
ก่อผลกระทบ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผลกระทบเชื่อมโยงกับการประกอบกิจการของบริษัท
บริษัทก็มีความรับผิดชอบที่จะใช้อำานาจต่อรองในการป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงที่ผลกระทบ
จะดำาเนินต่อไปหรือเกิดขึ้นอีกในอนาคต
• ผลกระทบที่บริษัทถูกกล่าวหาว่าก่อหรือมีส่วนก่อ และบริษัทปฏิเสธข้อกล่าวหา อย่างไรก็ดี
บริษัทอาจต้องสืบสวนให้ชัดเจน และหลีกเลี่ยงการกีดกันกระบวนการอันชอบธรรมที่จะสืบสวน
และตัดสินประเด็น ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการศาลหรือกระบวนการทางบริหารก็ตาม
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะต้องให้ความสำาคัญกับประเด็นที่ว่า บริษัทมีส่วนในการสร้างผลกระทบขององค์กรอื่นๆ
ในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของบริษัทหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นกรณีต่อไปนี้
• การจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยโดยไม่ผ่านกระบวนการคัดเลือกที่ดีพอ กระบวนการซึ่งจะเผยว่า
บริษัทนี้มีแนวโน้มที่จะใช้กำาลังอย่างไม่เหมาะสม
• การกดดันคู่ค้าให้นำาส่งผลิตภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขที่นำาไปสู่การใช้แรงงานเกินขนาด หรือทำางาน
ล่วงเวลาโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
• การว่าจ้างผู้รับเหมาที่ไม่มีกลไกคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพียงพอ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง
ด้านสุขภาพ
77