Page 83 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 83

กรอบการท�า HRDD      7









                  บริษัทควรศึกษาทำาความเข้าใจกับกลไกรับเรื่องร้องเรียนนอกองค์กร ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
            ว่าผู้มีส่วนได้เสียมอง “การเยียวยา” ในบริบทท้องถิ่นอย่างไร กลไกเหล่านี้ถูกมองว่ามีประสิทธิผลหรือไม่เพียงใด
            ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้มีส่วนได้เสียมองว่ากลไกเหล่านี้ไกลตัวหรือเข้าไม่ถึง ประเด็นนี้ก็อาจส่งผลให้พวกเขามีทางเลือก

            น้อยลงในการรับมือกับข้อกังวลต่างๆ


                  การจัดทำา “แผนที่” กลไกรับเรื่องร้องเรียนอื่นๆ และเข้าใจมุมมองทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับ “การเยียวยา” จะช่วยให้
            บริษัทเข้าใจได้มากขึ้นว่า จะจัดวางตำาแหน่งหรือจุดยืนของกลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับปฏิบัติการอย่างไร  ในทางที่

            เพิ่มมูลค่าและไม่ตัดตอนหรือบั่นทอนกระบวนการของทางการที่มีอยู่เดิม



                                        ปฏิสัมพันธ์กับกลไกรับเรื่องร้องเรียนอื่น



                  ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะแสวงหาการเยียวยาจากผลกระทบที่มองว่าเกิดขึ้น ผ่านระบบศาลหรือกระบวนการ
            ทางปกครอง แทนที่จะมาร้องเรียนกับบริษัทโดยตรง บริษัทย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งข้อกล่าวหาใดๆ ที่บริษัทเชื่อว่าไม่มีมูล

            ความจริงหรือไม่ถูกต้อง แต่ในบางสถานการณ์ บริษัทอาจพบว่าเป็นประโยชน์ที่จะสร้าง “สะพาน” เชื่อมไปยังกลไกของ
            รัฐ จากกระบวนการของบริษัทเอง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจตกลงกับชุมชนท้องถิ่นว่า ถ้าหากตกลงกันเรื่องการเยียวยา
            ไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายจะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ช่วยตัดสิน







                3          การออกแบบกลไกเยียวยาระดับปฏิบัติการที่ได้ประสิทธิผล





                  หลักการชี้แนะ UNGP ระบุว่า กลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับปฏิบัติการควรจะมีลักษณะคือ มีความชอบธรรม

            เข้าถึงง่าย คาดหวังได้ เท่าเทียม โปร่งใส สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ตั้งอยู่บนการสนทนาสองทางและการมี
            ส่วนร่วม และสามารถสรุปบทเรียนอย่างต่อเนื่องได้


                  กลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับปฏิบัติการไม่ควรกีดกันการเข้าถึงกระบวนการทางศาลหรือกระบวนการอื่น  หรือ

            บั่นทอนบทบาทของสหภาพแรงงานหรือองค์กรอื่น และวางมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนจากการถูก “แก้แค้น” เท่าที่
            ทำาได้



                                               การระบุขอบเขตของกลไก


                  บริษัทอาจวางกลไกที่แตกต่างกันสำาหรับผู้ส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม เช่น กลไกหนึ่งสำาหรับบุคลากรหรือแรงงาน
            อีกกลไกสำาหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (เช่น ชุมชน) หรืออาจรวมศูนย์การรับเรื่องร้องเรียนไว้ที่จุดจุดเดียว แล้วกระจาย

            เรื่องร้องเรียนไปยังกระบวนการภายในต่างๆ






                                                                                                          81
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88