Page 22 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 22

ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการสำารวจนโยบายบรรษัทข้ามชาติทั่วโลกของ Centre for Human Rights in Practice
            มหาวิทยาลัย Warwick สหราชอาณาจักร จำานวน 225 บริษัทในหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยี
            อาหารและเครื่องดื่ม แร่ น้ำามันและก๊าซธรรมชาติ การเงิน พบว่า มี 76 บริษัทที่ระบุว่ามีกระบวนการตรวจสอบด้าน

            สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Centre for Human Rights in Practice, 2015) ส่วนงานวิจัยเรื่อง “Exploring Human Rights
            Due Diligence” ที่จัดทำาโดย The British Institute of International and Comparative Law (BIICL) และบริษัทกฎหมาย
            Norton Rose Fulbright เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2559 เปิดเผยว่า ได้จัดทำาแบบสอบถามผู้แทนจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลก
            จำานวน 152 แห่ง ทั้งบริษัทข้ามชาติ บริษัทระดับชาติทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558
            โดย 2 ใน 3 เป็นผู้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสัมภาษณ์ผู้จัดการอาวุโสอีก 14 บริษัท จากธุรกิจ 4 ประเภท

            ได้แก่ ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต (รวมถึงพลังงานและเหมืองแร่) การเงิน ยา และเทคโนโลยี
            งานวิจัยนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 ได้จัดทำากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน



                  เหตุผลสำาคัญประการหนึ่งของบริษัทที่ดำาเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คือ เพื่อลดความเสี่ยง
            ด้านชื่อเสียงของบริษัทจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถนำาไปสู่ผลกระทบทางธุรกิจของบริษัทได้ เมื่อเปรียบเทียบ
            ในประเภทอุตสาหกรรมและประเทศเดียวกัน บริษัทที่เคยมีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนมักมีแนวโน้มที่จะดำาเนินการ
            ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า



                  การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านส่งผลให้บริษัทสามารถรับรู้ถึงกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
            จากการดำาเนินการของบริษัทและนำาไปสู่การแก้ปัญหาได้ บริษัทที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยของ BIICL ระบุว่า
            ร้อยละ 77 ของบริษัทที่ดำาเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน พบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจาก

            การดำาเนินงานของบริษัท ปัญหาที่ค้นพบกว่าร้อยละ 74 ได้รับการแก้ไข และร้อยละ 74 เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
            บุคคลที่ 3 ขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ดำาเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเพียงร้อยละ 19 สามารถระบุผลกระทบ
            ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการดำาเนินงานของบริษัท และร้อยละ 29 ที่เห็นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัท
            เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม


                  กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ไม่เพียงเผยข้อมูลที่บริษัทอาจไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ยัง
            สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบริษัทและห่วงโซ่อุปทานของบริษัทได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดทำารายงานประเมิน
            สิทธิมนุษยชนของบริษัทยูนิลีเวอร์ ทำาให้บริษัทรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำางานของแรงงานในห่วงโซ่อุปทานของ

            บริษัท จนนำาไปสู่การแก้ปัญหา เช่น ลดชั่วโมงการทำางานของพนักงานในประเทศไทยหลังจากพบว่าหนึ่งในผู้จัดหาวัตถุดิบ
            ของบริษัททำางานติดต่อกันโดยไม่มีวันหยุด บริษัทจึงสั่งให้บริษัทคู่ค้าจัดทำาแผนเยียวยา ซึ่งใช้เวลาแก้ไข 3 เดือน บริษัท
            จึงจะแน่ใจว่าพนักงานมีวันหยุดทุก 7 วัน (Unilever, 2015) หรือการศึกษาแรงงานในประเทศเวียดนามซึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทาน
            ของบริษัท  พ.ศ.  2554  พบว่า  แม้ว่ายูนิลีเวอร์จะมีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน  กระบวนการตรวจสอบด้าน
            สิทธิมนุษยชนรอบด้าน และมีกลไกการเยียวยา แต่ยูนิลีเวอร์ก็ไม่ได้ตรวจสอบในทางปฏิบัติ หลังจากการตรวจสอบ

            ส่งผลให้ผู้จัดหาวัตถุดิบตระหนักถึงความคาดหวังด้านมาตรฐานแรงงานของยูนิลีเวอร์มากขึ้น และได้รับการฝึกอบรม
            และแนวปฏิบัติตามนโยบายใหม่ของบริษัท ในปี 2558 มีการสำารวจว่าร้อยละ 70 ของบริษัทเหล่านี้กังวลว่ายูนิลีเวอร์
            จะไม่รับซื้อสินค้าของตนเองหากไม่จัดการปัญหาแรงงาน ปัญหาด้านชั่วโมงการทำางานที่มากเกินไปและการใช้แรงงาน

            สัญญาจ้างได้รับการแก้ไข เพราะผู้จัดหาวัตถุดิบตระหนักถึงความคาดหวังด้านมาตรฐานแรงงานของยูนิลีเวอร์มากขึ้น
            และได้รับการฝึกอบรมและแนวปฏิบัติตามนโยบายใหม่ของบริษัท







             20
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27