Page 17 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 17
Human Rights Due Diligence
2
(HRDD) คืออะไร?
ถึงแม้ว่าหน้าตาของกระบวนการ HRDD อาจแตกต่างกันตามบริบทของธุรกิจ สิ่งสำาคัญซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ควรตระหนักคือ การสร้างการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่ “มีความหมาย” คือมีประสิทธิผลนั้น
ไม่ใช่งานที่ทำาแล้วเสร็จสิ้นในครั้งเดียว แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องในการสร้างความรับผิดชอบของบริษัทและการมี
ส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในบริษัท การเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะ UNGP มีหลักการสำาคัญ 5 องค์ประกอบ ดังนี้
การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน (A Statement of Policy
Articulating the Company”s Commitment to Respect Human Rights) ซึ่งจะอธิบายต่อสาธารณะ
ว่าธุรกิจจะดำาเนินการอย่างไร ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอก
รวมถึงการระบุความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในโครงสร้างการทำางานของธุรกิจ
การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท (Assessment
of Actual and Potential Human Rights Impacts of Company Activities and Relationships)
หมายถึง การพิจารณาว่าใครที่ได้รับ/มีแนวโน้มได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำาเนินงาน
ซึ่งธุรกิจจะต้องทำางานร่วมกันโดยตรงกับผู้ที่ได้รับ/อาจจะได้รับผลกระทบ เช่น พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ
นักลงทุน ชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมิน รวมถึงกลไกควบคุมภายในและภายนอก (Incorporating into
Company Procedures and Addressing Impacts) เมื่อมีการระบุปัญหาและจัดลำาดับความสำาคัญแล้ว
ธุรกิจต้องหาทางบรรเทาปัญหาผ่านการบูรณาการเข้าถึงการดำาเนินงานของบริษัท วิธีการขึ้นอยู่กับ
ประเด็น แต่ส่วนใหญ่มักดำาเนินการผ่านการให้ความรู้และฝึกอบรมด้วยเครื่องมือและกระบวนการต่างๆ
ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องมีตั้งแต่ แรงงานไปจนถึงธรรมาภิบาลของบริษัท หากมีการทำางาน
ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะช่วยทำาให้บริษัทพัฒนานโยบายและกระบวนการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
การติดตามและการรายงานผลการดำาเนินงาน (Tracking and Reporting Performance) การรายงาน
ทำาให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะนักลงทุนเข้าใจว่าทำาไมบริษัทจึงให้ความสำาคัญกับประเด็น
สิทธิิมนุษยชน และมีประโยชน์ต่อผู้ใดบ้าง รวมทั้งเผยแพร่รายงานการประเมินผลกระทบด้าน
สิทธิมนุษยชน ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสของธุรกิจได้
การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา (Remediation and Remedy) เมื่อบริษัทระบุได้ว่าบริษัทก่อให้เกิดหรือ
มีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง หรือมีส่วนร่วมกับ
การแก้ไขผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม โดยจัดตั้งหรือมีส่วนในการจัดตั้งกลไกรับเรื่องร้องเรียนสำาหรับ
ผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากกิจกรรมของตน เพื่อให้เรื่องร้องเรียนเหล่านั้นได้รับ
การจัดการอย่างทันท่วงที และมีการเยียวยาโดยตรง
15