Page 24 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 24
การจัดทำากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้นำาเอาหลักการระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมาบูรณาการ ตัวอย่างของหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการดำาเนินกระบวนการตรวจสอบ
ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ซึ่งส่วนหนึ่งบริษัทต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว เช่น แนวปฏิบัติสำาหรับบรรษัทข้ามชาติของ
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) มาตรฐาน
Global Reporting Initiative โดย Global Reporting Initiative (GRI) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน (Standards on Environmental and Social Sustainability) ในหลักเกณฑ์
ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation-IFC) หรือมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบ
ต่อสังคม ISO 26000 โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization:
ISO)
ในเมื่อการดำาเนินธุรกิจตามหลักการชี้แนะ UNGP กำาลังจะกลายเป็น “ธรรมเนียม” หรือ “จรรยาบรรณ” ในการ
ทำาธุรกิจตามหลักสากล บริษัทของคุณก็จะถูกผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ คาดหวังมากขึ้นว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชนเช่นกัน
กล่าวโดยสรุป “เหตุผลทางธุรกิจ” (Business Case) ของกระบวนการ HRDD นอกเหนือจากการช่วยสะท้อนว่า
บริษัทกำาลังทำาตามมาตรฐานสากล สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ระบุและตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ ได้ดีขึ้น
จัดการกับความเสี่ยงด้านชื่อเสียง ปฏิบัติการ กฎหมาย และการเงินได้ดีขึ้น
ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้อยากมาทำางานกับบริษัท และสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานและแรงงาน
ในบริษัทได้ดีกว่าเดิม
เป็นเครื่องสาธิตภาวะผู้นำา และมาตรฐานการจัดการขององค์กร
เป็นเครื่องดึงดูดลูกค้าให้อยากอุดหนุนสินค้าหรือบริการของบริษัทมากขึ้น
22