Page 27 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 27
หลักการของ HRDD 5
• ทบทวนว่าระบบการตัดสินใจขององค์กรเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเหมาะสม
หรือไม่ สามารถป้องกันความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้จริง
หรือไม่
• ทบทวนสิ่งที่บริษัททำาเพื่อบรรเทาความเสี่ยง ทันทีที่ความเสี่ยงนั้นๆ ถูกระบุ
• ประเมินศักยภาพ นโยบาย และระบบของคู่ค้า ผู้รับเหมา และผู้รับจ้าง
รายอื่นๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่
• บูรณาการระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น นโยบายด้านบุคลากร และทรัพยากร
ทางการเงิน เพื่อประเมิน จัดลำาดับความสำาคัญ ป้องกัน และจัดการกับ
ความเสี่ยงหรือเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว
และมีแนวโน้มว่าจะเกิด
เพิ่มขีดความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่การจัดหา
จากวัตถุดิบไปถึงการขาย การส่งมอบสินค้าและบริการ ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชน
ยอมรับและตระหนักในสิทธิสากลของลูกจ้างทุกคน ในการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมหรือสหภาพ และสิทธิ
ในการเจรจาต่อรอง
• ยอมรับว่าความสามารถของลูกจ้างในการใช้สิทธิดังกล่าวบางครั้งถูกจำากัด
(เช่น ด้วยจุดอ่อนของตัวบทกฎหมาย หรือความย่อหย่อนของการบังคับใช้
กฎหมาย)
• บริษัทยินดีที่จะช่วยขจัดข้อจำากัดหรืออุปสรรคต่างๆ ในการใช้สิทธิของลูกจ้าง
• ยอมรับว่าลูกจ้างที่สามารถเป็นตัวแทนของลูกจ้างด้วยกันนั้นคือ ผู้พิทักษ์
สิทธิมนุษยชนของตนเองที่ชอบธรรมและเชื่อถือได้มากที่สุด
• ยอมรับว่าลูกจ้างคือ แหล่งข้อมูลจริงและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพ
การทำางาน และมีบทบาทสำาคัญในการแจ้งให้องค์กรรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง
สิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มว่าจะเกิด
25