Page 65 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 65

สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับหลักการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง

        และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี
        เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐ โดยได้ท�าค�าแถลงตีความ ๔ ประเด็น
        ได้แก่ (๑) ข้อ ๑ วรรค ๑ เรื่อง การใช้สิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง การก�าหนดสถานะทางการเมือง การด�าเนินการทาง
        เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเสรี (๒) ข้อ ๖ วรรค ๕ การพิพากษาประหารชีวิตบุคคลอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี (๓) ข้อ ๙ วรรค
        ๓ ระยะเวลาในการน�าผู้ถูกจับกุมไปศาล และ (๔) ข้อ ๒๐ วรรค ๑ การห้ามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม ซึ่งต่อมา ประเทศไทย

        ได้ถอนค�าแถลงตีความข้อ ๖ วรรค ๕ และข้อ ๙ วรรค ๓ มีผลตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นมา โดยในการเข้าเป็นภาคี
                                                     กติกา ICCPR รัฐภาคีมีหน้าที่ต้องจัดท�าและน�าเสนอรายงาน
                                                     ฉบับแรก (Initial Report) ต่อคณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR

                                                     ภายใน ๒ ปีหลังจากที่เข้าเป็นภาคี และน�าเสนอรายงานฉบับต่อไป
                                                     ในช่วงเวลาทุก ๆ ๕ ปี ส�าหรับประเทศไทยได้เสนอรายงานต่อ
                                                                                      ๒๑
                                                     คณะกรรมการฯ ฉบับแรกเมื่อปี ๒๕๔๘  โดยในสมัยประชุมที่ ๘๔
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๙ - ๒๐
                                                     กรกฎาคม ๒๕๔๘ คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกต (Concluding

                                                     Observations)  ต่อประเทศไทย  โดยเห็นควรให้มีการจัดตั้งกลไก
                                                     สอบสวนที่เป็นกลางในกรณีตากใบ กรือเซะ และสงครามปราบปราม
                                                     ยาเสพติด เพื่อประกันว่าการประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความ

                                                     มั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้สอดคล้องตามบทบัญญัติของ ICCPR
                                                     ข้อ ๔ ว่าด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉิน (State of Emergency)
                                                     การทบทวนการใช้โทษประหารชีวิตกับคดีฐานความผิดเกี่ยวกับ
                                                     ยาเสพติด และประกันว่าผู้ถูกคุมขังจะเข้าถึงการได้รับค�าปรึกษา
                                                     ทางกฎหมายและเข้าถึงแพทย์ ให้ผู้ถูกคุมขังมีโอกาสแจ้งครอบครัวทราบ

        เกี่ยวกับการจับกุมและสถานที่คุมขัง มีการสอบสวนทันทีที่มีการกล่าวหาว่ามีการกระท�าทรมานโดยเจ้าหน้าที่ต�ารวจ
        และเมื่อมีการตายในสถานคุมขัง มีการลงโทษผู้กระท�าผิดและจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือครอบครัว การปรับปรุงสภาพเรือนจ�า
        และใช้การจ�าคุกเป็นการลงโทษล�าดับสุดท้าย  การยุติการขังเดี่ยว  มีการคุ้มครองเยาวชนและไม่ขังเยาวชนรวมกับผู้ใหญ่

        มีการจัดตั้งกลไกการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือการส่งกลับคนต่างด้าว โดยเคารพต่อหลักการไม่ส่งตัวกลับ (Non – Refoulement)
        มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยเฉพาะการคุ้มครองนักข่าวนักหนังสือพิมพ์จากการถูกข่มขู่คุกคาม
        มีมาตรการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนจากการถูกคุกคามท�าร้าย  มีการสอบสวนเมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลดังกล่าว
        ถูกคุกคามท�าร้ายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการเยียวยาผู้เสียหายหรือครอบครัว ตลอดจนมีมาตรการน�าผู้กระท�าผิดค้ามนุษย์มาลงโทษ
        และคุ้มครองพยานและผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์



                 ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๙ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดท�ารายงานคู่ขนานซึ่งประเมิน
        สถานการณ์ในมิติต่าง ๆ โดยเนื้อหาครอบคลุมในประเด็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น การเข้าควบคุมการบริหาร
        ประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ

        สิทธิในกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาทบทวนการใช้โทษประหารชีวิต และสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
        ในประเด็นการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ปัญหาการทรมาน และกระบวนการพิจารณาเยียวยาผู้เสียหาย เป็นต้น ๒๒




                 ๒๑  ประเทศไทยน�าเสนอรายงานการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ฉบับที่ ๒ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
        แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
                 ๒๒  ดูรายละเอียดรายงานได้ที่ http://www.nhrc.or.th


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  64  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70