Page 66 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 66
โดยการประเมินสถานการณ์ฯ ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรมหรือย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment
or Punishment – CAT) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ตามที่ได้ท�าค�าแถลง
ตีความในข้อ ๑ นิยามค�าว่า “ทรมาน” ข้อ ๔ การก�าหนดให้การทรมานเป็นความผิดอาญา และข้อ ๕ เขตอ�านาจเหนือความผิด
ซึ่งให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา และจัดท�าข้อสงวนตามข้อ ๓๐ วรรคหนึ่ง การให้น�าข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความ
หรือน�าอนุสัญญาไปใช้ในการวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในสมัยประชุมครั้งที่ ๑๒๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม
๒๕๕๗ คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปกรณีประเทศไทย โดยเห็นว่าประเทศไทยควรยกเลิกค�าแถลง
ตีความข้อ ๑ ข้อ ๔ และข้อ ๕ สอบสวนกรณีมีการกระท�าการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย
โดยในปี ๒๕๕๙ กสม. แบ่งสถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองออกเป็น ๔ เรื่องหลัก ได้แก่
(๑) การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (๒) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (๓) สิทธิในความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล และ (๔) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
๓.๑ การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
๓.๑.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
สิทธิที่จะไม่ถูกกระท�าทรมานเป็นสิทธิและเสรีภาพ
ในชีวิตและร่างกาย ซึ่งได้รับการรับรองตามหลักการ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งพันธกรณี
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๓๒ ได้ก�าหนดหลักการว่าบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ
ในชีวิตร่างกายและบุคคลมีสิทธิที่จะไม่ถูกกระท�าทรมาน กติกา สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๗ รับรองว่าบุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการประติบัติ
หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต�่าช้ามิได้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติการะหว่างประเทศฯ ได้มีความเห็นทั่วไปที่ ๒๐ เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง ข้อ ๗ กล่าวคือ ในการอธิบายขั้นตอนการคุ้มครองการกระท�าที่ต้องห้ามตามข้อ ๗ รัฐภาคีควรให้ บทที่
ข้อมูลข่าวสารในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปกป้อง (Safeguard) เพื่อคุ้มครองเป็นพิเศษแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส มีกฎ/ระเบียบ ๓
สอบสวนอย่างเป็นระบบ ค�าสั่ง วิธีการ แนวปฏิบัติ การจัดการสถานคุมขัง และการปฏิบัติต่อผู้ถูกจับกุม คุมขัง หรือจ�าคุก
ในการป้องกันการทรมาน การปฏิบัติที่ทารุณ การประกันการคุ้มครองผู้ถูกคุมขังอย่างมีประสิทธิภาพ ควรคุมขังผู้ถูกคุมขัง
ในสถานที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นสถานที่คุมขัง และแจ้งให้ผู้นั้นทราบถึงชื่อและสถานที่ใช้คุมขัง ชื่อเจ้าหน้าที่
ที่รับผิดชอบ มีการบันทึกในทะเบียนที่ให้ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงญาติและเพื่อนของผู้ถูกคุมขังสามารถเข้าถึง มีการบันทึกเวลาและ
สถานที่สอบสวนและชื่อของคนทุกคนในการสอบสวนนั้น อันสามารถน�ามาใช้ในกระบวนการพิจารณาคดีและการบริหารจัดการ
ไม่ควรคุมขังในสถานที่ที่ไม่สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้ รัฐภาคีควรประกันว่าสถานที่คุมขังใด ๆ ก็ตามจะไม่มีเครื่องมือที่ใช้
การทรมานที่เป็นการลงโทษ หรือการปฏิบัติที่ทารุณ และจ�าเป็นต้องพร้อมให้แพทย์และทนายความเข้าถึงผู้ถูกคุมขังได้และ
เป็นประจ�าภายใต้การควบคุมอย่างเหมาะสม ขณะที่ด�าเนินการสอบสวนและควรให้สมาชิกของครอบครัวเข้าถึงได้ เพื่อไม่ให้
เกิดการกระท�าอันเป็นการละเมิด ข้อ ๗ กฎหมายต้องก�าหนดห้ามการน�าเอกสาร ข้อความ หรือไม่น�าค�าสารภาพที่ได้มาจาก
การทรมานหรือการปฏิบัติที่ต้องห้ามอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาคดีในศาล รัฐภาคีต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเยียวยา
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 65 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙