Page 244 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 244

๒.๓ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention
            for the Protection of All Persons from Enforced Disappearances : CED)

                     อนุสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อระงับยับยั้งการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยการกระท�าของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยก�าหนด
            ให้บุคคลจะถูกกระท�าให้หายสาบสูญโดยถูกบังคับไม่ได้และไม่มีพฤติการณ์พิเศษใดไม่ว่าจะเป็นสภาวะสงคราม หรือสภาพ
            คุกคามที่จะเกิดสงคราม หรือเหตุอื่นใดมาเป็นข้ออ้างส�าหรับการกระท�าให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับได้ ซึ่งรัฐภาคีต้อง
            ด�าเนินมาตรการที่จ�าเป็นเพื่อประกันว่าการหายสาบสูญโดยถูกบังคับเป็นฐานความผิดภายใต้กฎหมายอาญาของตน และต้อง
            ด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อสอบสวนและน�าตัวผู้กระท�าผิดมาด�าเนินคดี และต้องก�าหนดบทลงโทษและอายุความที่เหมาะ

            สมและร้ายแรงของความผิด โดยรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามในข้อบทที่ ๑ -๒๕ แม้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างกระบวนการให้   ภาคผนวก
            สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคี ซึ่งอนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลก็จะต้องไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นการ
            ขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Objects and Purposes) ของอนุสัญญาดังกล่าว



            ๒.๔ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant
            on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR)
                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โดยท�าค�าแถลง
            ตีความข้อ ๑ วรรคหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง โดยมิให้ตีความรวมถึง การแบ่งแยกดินแดนหรือ

            เอกภาพทางการเมือง


                     เนื้อหาของกติกาฉบับนี้มี ๕ ส่วน ๓๑ ข้อ ๓ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๑๕) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ส่วนที่ ๔ (ข้อ

            ๑๖-๒๕) ว่าด้วยการเสนอรายงานทั้งของรัฐภาคีและในระหว่างองค์กรของสหประชาชาติ ของการให้ความช่วยเหลือ และ
            การประชุมทางวิชาการและการตีความ และส่วนที่ ๕ (ข้อ ๒๖-๓๑) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นรัฐภาคี การมีผลบังคับใช้ความ
            ครอบคลุมของกติกาการแก้ไขและการเก็บรักษาต้นฉบับ ส่วนที่เป็นสารบัญญัติ ๑๕ ข้อก�าหนดสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนได้แก่
            การก�าหนดเจตจ�านงของตน การจัดการทรัพยากร และการประกันสิทธิของรัฐภาคี ที่จะต้องให้สิทธิแก่ทั้งประชาชนและผู้ที่ไม่ใช่
            คนชาติของตน การประกันสิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างชายหญิงและเพื่อความเท่า

            เทียมกันในสังคมประชาธิปไตย การห้ามลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การรับรองสิทธิในการท�างานหาเลี้ยงชีพด้วยสภาพ
            การท�างานที่ยุติธรรม ค่าจ้างที่เป็นตามความเป็นอยู่ และสภาพการท�างานที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ การก่อตั้งสหภาพแรงงาน
            สิทธิของคนงาน สิทธิในสวัสดิการสังคม การประกันสังคม สิทธิของครอบครัวในฐานะจ�าเป็นสังคมพื้นฐานทางธรรมชาติ

            สิทธิของมารดาเด็กผู้เยาว์และความคุ้มครอง สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะเรื่องอาหารโดย
            ปลอดจากความหิวโหยและการแบ่งสรรอาหาร สิทธิด้านสุขภาพ สุขลักษณะ บริการทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาดโดย
            เฉพาะอนามัยทารก สิทธิทางการศึกษาซึ่งประถมศึกษาจะเป็นการศึกษาภาคบังคับที่ให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษาในระดับ
            มัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องส่งเสริมให้มากที่สุด สิทธิที่จะมีส่วน
            ร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐที่จะคุ้มครองอนุรักษ์และการพัฒนารวมทั้งการเผย

            แพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางวัฒนธรรม


            ๒.๕ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
            Elimination of All Forms of Discrimination against Women : CEDAW)

                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘ โดยท�าค�าแถลง
            ตีความ ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายในประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย และปัจจุบันคง
            เหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๙ การให้อ�านาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท







                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  243  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249