Page 248 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 248

ประเทศวัตถุประสงค์หลักของปฏิญญาฯ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ รวมถึงให้การรับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ ของชนเผ่า
            พื้นเมือง อาทิ สิทธิในที่ดิน ดินแดน และทรัพยากร สิทธิในการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สิทธิด้านการศึกษา และด้าน

            สุขภาพอนามัย เป็นต้น


            ๓.๒ หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles) ว่าด้วยการประยุกต์ใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน
            ระหว่างประเทศในประเด็นวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ
                     หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles) คือกรอบแนวทางการประยุกต์ใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนกับ

            ประเด็นวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยพัฒนาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์การสหประชาชาติ และผู้แทน  ภาคผนวก
            จากเครือข่ายภาคประชาสังคม และองค์กรสิทธิมนุษยชนด้านวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ ระบุแนวทางหลักในการน�ากฎหมาย
            สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาใช้ให้เกิดผลการปฏิบัติงานจริง มีการด�าเนินการที่สะดวกขึ้นและมีแนวทางที่ชัดเจนให้รับ

            ด�าเนินการต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน ที่มีพื้นฐานมาจากวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศโดยเน้นย�้าหลักส�าคัญคือการไม่เลือกปฏิบัติ
            และการห้ามกระท�าการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสร้างความรุนแรงใด ๆ โดยเหตุแห่งการแสดงออกของวิถี
            และอัตลักษณ์ทางเพศ


                     หลักการยอกยาการ์ตามีบทบัญญัติ ๒๙ ข้อซึ่งมีสารัตถะของสิทธิที่จะต้องไม่ถูกกีดกันแบ่งแยกหรือละเมิดด้วย

            เหตุผลเกี่ยวกับวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และเพศสภาพ (Gender Identity) ของบุคคล กล่าวคือ สิทธิที่จะได้
            ประโยชน์จากสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับคนทั่วไป (ข้อ ๑) สิทธิที่จะเท่าเทียมผู้อื่นและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ (ข้อ ๒) สิทธิในการ
            ด�ารงชีวิต (ข้อ ๓)  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยของบุคคล (ข้อ ๔-๕) สิทธิที่จะมีพื้นที่ส่วนตัว (สิทธิส่วนบุคคล) (ข้อ ๖) สิทธิ

            ที่จะมีอิสระจากการถูกลิดรอนเสรีภาพโดยพลการ (ข้อ ๗) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (ข้อ ๘) สิทธิที่จะ
            ได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมขณะถูกคุมขัง (ข้อ ๙) สิทธิที่จะถูกคุ้มกันหรือไม่ได้รับการทรมานและการลงโทษหรือการ
            ปฏิบัติอย่างทารุณไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติ (ข้อ ๑๐) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการซื้อขายมนุษย์ทุกรูปแบบ (ข้อ
            ๑๓) สิทธิที่จะได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง (ข้อ ๑๔) สิทธิในการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม (ข้อ ๑๕) สิทธิทางการ
            ศึกษา (ข้อ ๑๖)  สิทธิที่จะได้รับการดูแลสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุด (ข้อ ๑๗) การป้องกันจากการทารุณทางแพทย์ (ข้อ ๑๘)

            สิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก (ข้อ ๑๙) สิทธิในการชุมชนหรือสมาคมโยสงบ (ข้อ ๒๐) สิทธิในเสรีภาพแห่ง
            ความคิดมโนธรรมและศาสนา (ข้อ ๒๑) สิทธิในเสรีภาพแห่งการเคลื่อนย้าย (ข้อ ๒๒) สิทธิที่จะขอลี้ภัย (ข้อ ๒๓) สิทธิที่จะ
            สร้างครอบครัว (ข้อ ๒๔) สิทธิที่จะเข้าร่วมกิจการสาธารณะ (ข้อ ๒๕) สิทธิในการร่วมใช้ชีวิตทางด้านวัฒนธรรม (ข้อ ๒๖)

            สิทธิที่จะสนับสนุนสิทธิมนุษยชน (ข้อ ๒๗) สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ค่าเสียหายอย่างเต็มที่ (ข้อ ๒๘) และรัฐต้อง
            สามารถตรวจสอบการกระท�าอันละเมิดสิทธิดังกล่าวข้างต้นได้ (ข้อ ๒๙)


            ๓.๓ ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
                     การเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic

            Review (UPR) รอบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจ จ�านวน ๗ ข้อ และได้รับ
            ข้อเสนอแนะจากคณะท�างาน Universal Periodic Review (UPR) จ�านวน ๒๔๙ ช้อ โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะที่ประเทศไทย
            รับได้ในทันทีจ�านวน ๑๘๑ ข้อ และรับน�ากลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งจ�านวน ๖๘ ซึ่งต่อมาภายหลังประเทศไทยได้รับข้อเสนอ

            เพิ่มอีก ๖ ข้อ รวมข้อเสนอที่ประเทศไทยรับมาทั้งสิ้นจ�านวน ๑๘๗ ข้อ ๕๑๕






                     ๕๑๕  จาก ข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับและค�ามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR รอบที่ ๒ สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/upr/report-upr-2/





                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  247  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253